การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ทุเรียนหลงลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

วจี ปัญญาใส

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้บทเรียนผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรทุเรียนหลงลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรและลูกหลานเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนหลงลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มาโดยการเจาะจงและอาสาสมัคร แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลความต้องการเรียนรู้บทเรียนผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรทุเรียนหลงลับแล จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก 10 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองวิธีการเรียนรู้อีก 22 คน แบ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนหลงลับแล 11 คน และบุตรหลานเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนหลงลับแลที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ อีก 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจความต้องการเรียนรู้บทเรียนผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรทุเรียนหลงลับแล แบบสัมภาษณ์เชิงลึก


          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


          1. ผลการสำรวจความต้องการเรียนรู้ พบว่า วิธีการเรียนรู้ที่สะดวกที่สุดของกลุ่มตัวอย่าง คือ การรวมกลุ่มกันศึกษา และการศึกษาเองจากบทเรียน เนื้อหาที่กลุ่มตัวอย่างสนใจที่จะเรียนรู้บทเรียนผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรทุเรียนหลงลับแล ตามลำดับ คือ การจัดการผลผลิต การรวมกลุ่มของเกษตรกร และการดูแลรักษาต้นทุเรียน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า เนื้อหาที่กลุ่มตัวอย่างสนใจเรียนรู้ตามลำดับ คือ ช่องทางการขาย วิธีการแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืช และการดูแลรักษาต้นทุเรียน ส่วนวิธีการเรียนรู้ที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกที่สะดวกที่สุด คือ การอ่านเองจากเอกสารเล่มเล็กๆ เพราะสะดวกในการอ่านและอ่านจบเร็ว


          2. ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้บทเรียนผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรทุเรียนหลงลับแล พบว่า กลุ่มเกษตรกรมีความเห็นว่า กระบวนการเรียนรู้ทำให้เขาได้ความรู้ใหม่ๆ และแนวคิดใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนกับกลุ่ม และกับบุตรหลานอยู่ในระดับมากที่สุด และการได้เรียนรู้กับบุตรหลานทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับอาชีพของครอบครัวมากขึ้น ในขณะที่กลุ่มบุตรหลานของเกษตรกร เห็นว่า กระบวนการเรียนรู้ทำให้เขาได้ความรู้ใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนในกลุ่ม และแลกเปลี่ยนกับผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก การเรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครองทำให้เขาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับอาชีพของครอบครัวมากขึ้น และทำให้เขาสนใจในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรทุเรียนหลงลับแล และเอาใจใส่ในการปลูกทุเรียนอยู่ในระดับมาก


 


คำสำคัญ : บทเรียนผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรทุเรียนหลงลับแล, กระบวนการเรียนรู้


 


*คณะครุศาสตร์ สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์


 


 


 


Abstract


         The purpose of this study was develop the process of learning lessons entrepreneurs agribusiness durian Long Lab-Lae Uttaradit province. The subject were specific purposive sampling and volunteer sampling of farmer and farmer’s children whose growing durian Long Lab-Lae. The sample was divide in two groups, The first group used to collect data needs to learn the lessons of 30 people and another 10 people in-depth interview for the leaning design. The second group was the sample used in the experiment learning methods 22 people. The farmer are 11, and their children another 11 people. The instrument uses in research consist of, a survey needs to learn the lesson of the durian Long Lab-Lae. In-depth interview.


         The result were as follow:


         1. The survey needs to learn the lesson that, the most convenient way to learn is to unite education and self education the contents were interested to learn that order, is product management, the integration of famers and maintaining fruit trees. And in-depth interview found that, the content were interested to learn that order, is sale channel, and maintaining fruit trees. Learning design from in-depth interview are, the most convenient to read from document booklet because it is convenient and fast reading.


         2. Result of opinion on learning design found that, a learning process that brought them new knowledge and new idea to share with the group and the children are at the highest level. And learn together with their children, causing the exchange of ideas about the profession of family. While the children of famers found that learning process made them  gain new knowledge from the exchange in group and their parent are at the high level. And learning with parent gave them, ideas about the profession of family, and made them more interested in becoming agribusiness and care to grow durian at a high level.


        


Keywords: Agribusiness entrepreneur lesson, Learning process.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมกฤษ จันทร์ขจร. (2551). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. (2542). หลักการจัดฝึกอบรมให้กับผู้ใหญ่.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/447142. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2559.

ชัยฤทธิ์ โพธิ์สุวรรณ. (2544). การศึกษาผู้ใหญ่: ปรัชญาตะวันตกและการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วุฒิพล สกลเกียรติ. (2546). การเรียนรู้ผู้ใหญ่และผู้เรียนผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วุทธิศักดิ์ โภชนกุล. (2550). การเรียนรู้ของผู้ใหญ่. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: http://www.pochanukul.com/?p=39. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2559.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2549).ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่สมัยใหม่.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:
https://www.gotoknow.org/posts/447142. สืบค้นเมื่อวันที่ 28ตุลาคม 2559.