การสกัดข้อมูลเพื่อการออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยวเศรษฐกิจชุมชน จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • เที่ยงธรรม สิทธิจันทเสน หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นิคม ลนขุนทด หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อัษฎา วรรณกายนต์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สุรเชษฐ์ วงศ์ชัยประทุม หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สุชาติ ดุมนิล หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ชุติมา มูลดับ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ภัทรารัตน์ ชิดชอบ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การสกัดข้อมูล, การออกแบบและพัฒนา, แอพพลิเคชั่น, การท่องเที่ยว, เศรษฐกิจชุมชน, สินค้าโอทอป

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สกัดข้อมูลเพื่อการออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชั่น การท่องเที่ยวเศรษฐกิจชุมชนและสินค้าโอทอป จังหวัดสุรินทร์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มชุมชนเป้าหมาย จำนวน 48 หมู่บ้าน ๆ ละ 50 คน รวมเป็น 2,400 คน โดยใช้การสำรวจ สอบถาม การประชุมสนทนากลุ่มครอบคลุมเนื้อหาข้อมูลการท่องเที่ยวเศรษฐกิจชุมชนและสินค้าโอทอป จังหวัดสุรินทร์ ในแต่ละประเด็น จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูล แบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลด้านสินค้าโอทอป ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ ผ้าไหม เครื่องเงิน ข้าวหอมมะลิ  ผลิตภัณฑ์จักสาน ผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าทางการเกษตร เป็นต้น ด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ส่วนใหญ่ จะเกี่ยวข้องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ความเชื่อ และเป็นสิ่งที่ทำสืบทอดต่อ ๆ กันมา ได้แก่ วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา   ไหว้ศาลปู่ตา บุญวันสารท เซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษ “แซนโฎนตา” และประเพณีที่เกี่ยวกับการทำการเกษตร หรือสินค้าที่ชุมชนผลิตขึ้น เช่น ประเพณีแซนแซร ประเพณีบุญข้าวจี่ งานวันข้าวหอมมะลิ และมหกรรมผ้าไหมสุรินทร์  เป็นต้น ด้านการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น หมู่บ้านช้าง หมู่บ้านทอผ้าไหม แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น และด้านเศรษฐกิจชุมชน รายได้ของชุมชนเกิดจากการทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ งานหัตถกรรม งานฝีมือ จากภูมิปัญญาชาวบ้าน

References

กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: ดับบลิว ปริ้นติ้ง.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). มาตรฐานการส่งเสริมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน เดือนธันวาคม 2560. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=10097. (2561, 1 กรกฎาคม).

ประทีป วีรพัฒนนิรันดร์. (2560). เศรษฐกิจชุมชน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.banrainarao.com/column/commu_econ_02. (2560, 15 กรกฎาคม).

ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. (2561). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://surin.kapook.com. (2560, 7 กรกฎาคม).

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). แนวโน้มเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวปี 2561. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://ttaa.or.th/wp-content/uploads/2017/09/เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว1801256.pdf. (2561, 2 กรกฎาคม).

สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอเมืองศรีสะเกษ. (2560). ความเป็นมาของ OTOP. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://goo.gl/zsbqvU. (2560, 7 กรกฎาคม).

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิจิตร. (2561). OTOP คืออะไร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://qrgo.page.link/nZfUW. (2560, 10 กรกฎาคม).

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17(1 กรกฎาคม 2555).

Greg, R. G. (2003). What is Cultural Tourism. In Van Maaren, A (ed) Erfgoed voor Toerisme. [Online], Available: http//:www.academia.edu/1869136/what_is_Cultural_Tourism.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31