การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • ปรเมศวร์ มุทาพร หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรชา อมรพันธุ์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน, การพัฒนาแนวทาง

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ และ 2) เสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ การวิจัยครั้งนี้มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัด การเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 329 คน และ ระยะที่ 2 เสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู ศึกษาสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีเยี่ยม จำนวน 3 แห่ง มีเกณฑ์การพิจารณา คือ มีการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์
          ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
          1. ความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่  1) การนำเสนอผลงาน 2) การลงมือดำเนินงาน 3) การกำหนดปัญหาเลือกหัวข้อ 4) การเขียนรายงานการดำเนินงาน 5) การวางแผนเขียนเค้าโครงการ และ 6) การศึกษาข้อมูลทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
          2. แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มี 3 ขั้นตอน คือ 1) ส่งเสริมสนับสนุน 2) จัดให้ครูดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกัน และ 3) ประเมินความก้าวหน้า ผลการประเมินแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ สกสค.

ชาตรี เกิดธรรม. (2542). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: คอมแพคปริ๊นท์.

ณัฐธีร์ ศรีวังราช. (2554). การพัฒนาบุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนคูเมืองวิทยาคม อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดารุณี บุญเพ็ง. (2554). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนนาหว้าพิทยาคม อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: หจก. ทิพยวิสุทธิ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2553). ราชกิจจานุเบกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. เล่ม 127 (ตอนที่ 45 ก), หน้า 1-3.

ไพศรี ค่อมบุญ. (2553). ศึกษาการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานโรงเรียนบ้านปลาดุก อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยุพาพันธ์ มินวงษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโครงงาน เน้นการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ (3P) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). ข้อเสนอระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

วัชราภรณ์ ถนอมเงิน. (2554). การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียนบ้านโนนข่า อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์เลิฟเพรส.

วิภาวรรณ วรพันธุ์. (2554). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียนบ้านพระเสาร์ (สามัคคีวิทยาคม) อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สำนักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). การยกระดับครูไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.

สุรศักดิ์ จันทรา. (2554). การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียนบ้านนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545) . 21 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรพรรณ กล้าวิจารณ์. (2553). การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียน สงยางสงเปลือยวิทยาคม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determinining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 5(30), 5-10.

Walker. (2004). Skepticism and Naturalism: Can Philosophical Skepticism be Scientifically Tested. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/pdf/10.1111/j.1755-2567.2004.

tb00980.x. (2017, 2 January).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31