การพัฒนาทักษะการคิด แบบโยนิโสมนสิการ ในรายวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • นครรัฐ โชติพรม หลักสูตรศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สิทธิกร สุมาลี หลักสูตรศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์ หลักสูตรศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, โยนิโสมนสิการ, ทักษะการคิด

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ แบบโยนิโสมนสิการ 10 วิธีคิด ในรายวิชาพระพุทธศาสนา 2) ประเมินทักษะการคิด แบบโยนิโสมนสิการ 10 วิธีคิด 3) หาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโยนิโสมนสิการ 4) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบโยนิโสมนสิการและ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโยนิโสมนสิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา จังหวัดสระบุรี จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโยนิโสมนสิการ ในรายวิชาพระพุทธศาสนา มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.51) 2) แบบประเมินทักษะการคิด แบบโยนิโสมนสิการ10 วิธีคิด มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.67-1.00 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาพระพุทธศาสนา มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.26-0.80 และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.20-0.50 ซึ่งแบบทดสอบชุดนี้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโยนิโสมนสิการมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าดัชนีประสิทธิผล หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
         ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ แบบโยนิโสมนสิการ 10 วิธีคิด ในรายวิชาพระพุทธศาสนา ได้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโยนิโสมนสิการ 10 วิธีคิด จำนวน 9 หน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 26 แผน 2) ผลการประเมินทักษะ การคิด แบบโยนิโสมนสิการ 10 วิธีคิด ในรายวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ได้คะแนนเฉลี่ย 2.60-3.00  3) ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโยนิโสมนสิการ มีค่าเท่ากับ 0.75 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 75  4) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักเรียนส่วนใหญ่ มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม และ 5 ) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อมีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโยนิโสมนสิการ ในรายวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.58)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

โกวิท วรพิพัฒน์. (2544). ต้นคิดคิดเป็น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เดลินิวส์ออนไลน์. (2555). ข่าวการศึกษา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: www.dailynews.co.th. (2555, 9 เมษายน).

นาตยา ปิลันธนานนท์ และคณะ. (2555). รู้มั้ย...ทักษะการคิดขั้นสูงเป็นอย่างไร. กรุงเทพฯ: แม็คเอ็ดดูเคชั่น.

ปราโมทย์ อาจวิชัย. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการสอนแบบโยนิโสมนสิการกับการใช้กิจกรรมการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปัญญา อ.โพธิ์ทอง. (2552). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องหลักธรรมของพระพุทธศาสนาและความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลด้วยวิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). ถึงเวลามารื้อปรับระบบพัฒนาคนกันใหม่. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

พระมหาจำลอง พรมแสน. (2545). ผลการสอนแบบโยนิโสมนสิการต่อการคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนธรรมราชศึกษา อำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษารมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2558). นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนกับการศึกษาระบบ 4.0. ในโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนานวัตกรรมการสอนมิติใหม่เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จัดโดยศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ณ ห้องสุรนารีสุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วรธาร ทัดแก้ว. (2561). ข่าวการศึกษา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.posttoday.com/dhamma (2561, 2 กันยายน).

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ openworlds. แปลจาก 21st CENTURY SKILLS Rethinking How Students Learn. Edited by James Bellanca, Ron Brandt All Rights Reserved.

สมใจ ภู่ภิรมย์. (2553). ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความพึงพอใจต่อวิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเสนาณรงค์วิทยาจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2550). สุดยอดวิธีสอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ไทยร่มเกล้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31