การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาสุขศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning ตามกระบวนการ GPASS

ผู้แต่ง

  • วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู ภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เจตคติต่อวิชาสุขศึกษา, การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning, กระบวนการ GPASS

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน วิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามกระบวนการ GPASS (2) ศึกษาความก้าวหน้าของผลการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามกระบวนการ GPASS และ (3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ  Active Learning ตามกระบวนการ GPASS  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ของวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับสลากห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชา    สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามกระบวนการ GPASS (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97  และ (3) แบบประเมินเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาสุขศึกษา  ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามกระบวนการ GPASS ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t – test) แบบ Dependent
            ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามกระบวนการ GPASS หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความก้าวหน้าของผลการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามกระบวนการ GPASS นักเรียนมีผลการเรียนรู้พัฒนาขึ้นร้อยละ 40.10 เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ คือมากกว่าร้อยละ 25 (3) เจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามกระบวนการ GPASS โดยภาพรวม นักเรียนมีเจตคติอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.54, S.D. = 0.55)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). บทบาทของครูในการเรียนรู้แบบ Active Learning. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php? NewsID=12972&Key (2561, 2 ธันวาคม).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). บทบาทของครูในการเรียนรู้แบบ Active Learning. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php? NewsID=12972&Key (2561, 2 ธันวาคม).

ณัฐธีร์ เรขะพรประสิทธิ์. (2555). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีกระบวนการเรียนรู้กระตือรือร้นในการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือสื่อบทเรียนอิเล็กทอนิกส์แบบออนไลน์สำหรับวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีพัสดุคงคลัง. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

บัณฑิต ทิพากร. (2550). “การพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา”. ใน ไพทูรย์ สินลารัตน์ บรรณาธิการ อาจารย์มืออาชีพ: แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เมษ ทรงอาจ. (2558). รูปแบบการเรียนการสอน รายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู (๒๐๐๒๐๔) โดยใช้การสอนแบบมีส่วนร่วมของนิสิตปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

รสิตา รักสกุล, สุวรรณา สมบุญสุโข และก้องกาญจน์ วชิรพนัง. (2558). สัมฤทธิผลของการจัด การเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยใช้ Active Learning ของนักศึกษาในรายวิชาการบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2558 (RSU National Research Conference 2015) วันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2558 ณ ห้อง Auditorium ชั้น 2 อาคาร Digital Multimedia Complex (ตึก 15) มหาวิทยาลัยรังสิต.

วรวรรณ เพชรอุไร. (2555). รายงานวิจัย เรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แบบแอคทีฟในรายวิชา อย 341 การแปรรูปยาง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยโจ้.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31