การพัฒนาระบบการขับเคลื่อนศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา

Main Article Content

อนุสรณ์ พฤกษะศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวิธีดำเนินการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาสภาพการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา 2) การพัฒนาระบบการขับเคลื่อนศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา และ 3) การประเมินประสิทธิผลของระบบการขับเคลื่อนศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาในปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาในสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอย่างในระดับมาก ผลการเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของสภาพการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา พบว่า ด้านกระบวนการ (Process) มีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมาคือปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านผลผลิต (Product) และด้านบริบท (Context)

  2. ผลการพัฒนาระบบการขับเคลื่อนศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา พบว่า องค์ประกอบของระบบการขับเคลื่อนศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย คู่มือการบริหารศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา คู่มือการจัดการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา และโมดูลฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ซึ่งมี 2 ส่วน คือ โมดูลฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการอาชีวศึกษาสำหรับครูที่ปรึกษาธุรกิจ และโมดูลฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการอาชีวศึกษาสำหรับผู้เรียน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าระบบการขับเคลื่อนศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

  3. ผลการประเมินประสิทธิผลของระบบการขับเคลื่อนศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา

3.1 นวัตกรรมที่ใช้ในการพัฒนาระบบการขับเคลื่อนศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาไปใช้จริง (Implement) พบว่า คู่มือการบริหารศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาและคู่มือการบริหารศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาและคู่มือการจัดการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนครูและผู้เรียนที่เข้ารับการอบรมโดยใช้โมดูลฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการอาชีวศึกษาโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


3.2 ผลการติดตามระบบการขับเคลื่อนศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2560 จากสถานศึกษา 100 แห่ง และผู้ประกอบการอาชีวศึกษาที่ผ่านการอบรมตามโมดูลฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการอาชีวศึกษาสำหรับผู้เรียน จำนวน 100 ทีม ดังนี้ ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาที่เข้ารับการประเมินระดับชาติ มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ระดับ 3 ดาวขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 83 แผนธุรกิจของทีมที่เข้ารับการอบรมตามโมดูลฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการอาชีวศึกษา มีผลการประเมินอยู่ในช่วงคะแนน 60 ขึ้นไป  คิดเป็นร้อยละ 77 และการดำเนินธุรกิจของทีมที่เข้ารับการอบรมตามโมดูลฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการอาชีวศึกษาสำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษา มีผลการประเมินตั้งแต่ 60 คะแนนขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 98  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] บริติส เคานซิล ประเทศไทย. 2559. หลักสูตร Entrepreneurship สำหรับอาชีวศึกษา.
[2] ประเสริฐ ลีอำนนต์กุล และสำลี ทองธิว. 2553.การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นเยาว์ ตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางธุรกิจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย.วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] วันเพ็ญ รัตนกังวาน.2555.แนวทางการบ่มเพาะผู้ประกอบการด้วยการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ.
[4] ศรันญา อรุณภู่. 2557. การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการบริการของบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิสจำกัด.วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมกราคม - มิถุนายน 2557.
[5] สินีนาท ภูมิพล. 2553. รูปแบบที่เหมาะสมสําหรับการบมเพาะผูประกอบการรุนใหมอาชีวศึกษา.สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
[6] สุธีรา อะทะวงษา. 2556. คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ และลักษณะของสถานประกอบการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
[7] สราวุธ หนุนเงิน.2548. ขีดความสามารถจริง/ขีดความสามารถที่พึงประสงค์/ผู้ประกอบการ/วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม/สถานบริการสปา/จังหวัดชลบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
[8] สุวิมล ว่องวานิช. 2558. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[9] สมเกียรติ อินทวงศ์ และคณะ. 2557. การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่16 ฉบับที่ 3 2557. มหาวิทยาลัยนเรศวร
[10] สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ.2551.หนึ่งวิทยาลัย หนึ่งธุรกิจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก :http://bsq.vec.go.th/. 17 กรกฎาคม 2561.
[11] เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ. 2533.นวัตกรรม : ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ วารสารบริหารธุรกิจ.ปีที่ 33 ฉบับที่ 128 ตุลาคม-ธันวาคม 2533.
[12] Beane , James A , Toepler , Jr. Conrad F. and Alessi , Jr. Samuel J. 1986.Curriculum Planning and Development. Massachusette : Allyn and Bacon.
[13] Bigs, C. L. Birks, E. G. and Atkins, W. 1980.Managing the systems development process. Engle wood Cliffs, NJ : Prentice Hall.
[14] David Smith. 2010.Exploring Innovation 2nd ed. Berkshire. McGraw-Hill Education.
[15] Drucker. 1994.Innovation and Entrepreneurship: Practice and Principles. London: Heinemann.
[16] EdwardsP. 1985. System analysis design and development : With structured concepts. New York : Holt Rinehart and Winston.
[17] Fiji, Picrre Van. 1974. A Concise Building Scheme for Instruction Module. Education Technology.
[18] FitzGerald, J., & FitzGerald, A. F. 1987. Fundamental of system analysis: Usingstructured analysis and design techniques. New York: John Wiley & Sons.
[19] Gisli Thorsteinsson. 2002. Innovation and Practical Use of Knowledge. Design & Technology Association International Research Conference.
[20] Hatten. 2006. Small Business Management Entrepreneurship and Beyond. Boston : Houghton Miffin.
[21] Hick, James. 2012. A Study of Human Capital Development in Young Entrepreneurs. A Thesis of Doctor of Philosophy of Loughborough University.
[22] Hodgetts and Kuratko. 1995. Effective Small Business Management. Fort Worth : Dryden.
[23] Houston, Robert W. and others. 1973. Development Instructional Modular System For Writing Modules. Florida : University of Florida.
[24] Herkema, S. 2003. “A Complex Adaptive Perspective on Learning within Innovation Projects”. The Learning Organization.
[25] Cliffs, NJ: Educational Technology Publications.
[26] Lawrence, Condon. 1975. Module on Modules. Florida: Department of Education of Florida University
[27] Longman. 1987. Longman Dictionary of Contemporary English. England : Clay.
[28] Longenecker, Moore, Petty and Palich. 2006. Small Business Management : An Entrepreneurial Emphasis. NP : South Westem.
[29] Oliva , Peter F. 1992.Developing The Curriculum 3 rd ed. New York : Harper Collins Publishers,
[30] Prosser, C.A. and T.H. Quigley. 1949. “Vocational Education in a Democracy.” American Technical Society. Chicago, Illinois. pp. 217-232.
[31] Roger EM. 1987. Diffusion of innovation. New York : Macmillan Publishing.