Quality improvement project Innovation: “3P” protection pressure injury paper

Main Article Content

พุทธชาติ ใจกาศ

Abstract

ชื่อโครงการ


นวัตกรรม “3P” กระดาษป้องกันการปนเปื้อนแผลกดทับบริเวณก้นกบ


 


ที่มา/มูลเหตุจูงใจ


แผลกดทับ (pressure injury) เป็นปัญหาสำคัญที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล จากสาเหตุการสูญเสียหรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นวัยที่มีการเสื่อมถอยของสมรรถนะร่างกาย ตำแหน่งที่พบแผลกดทับมากที่สุดคือบริเวณก้นกบ (วิจิตร ศรีสุพรรณ, 2553) ผลกระทบของแผลกดทับพบได้ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เช่น ไม่สุขสบายจากอาการปวด คุณภาพชีวิตลดลง เพิ่มระยะเวลาการรักษา
ในโรงพยาบาลนานขึ้น ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น บุคลากรหรือผู้ดูแลมีภาระงานเพิ่มมากขึ้น จนถึงส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น การฟื้นหายของแผลกดทับขึ้นกับการป้องกันการติดเชื้อ การส่งเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย และการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมรอบแผลที่เหมาะสม (วิจิตร ศรีสุพรรณ, 2553) เช่น การดูแลให้แผลอยู่นิ่ง  การทำแผลโดยการปิดแผลเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และการควบคุมสิ่งแวดล้อมของแผลให้มีความชุ่มชื้นคงที่ จะช่วยให้แผลมีการสร้างเนื้อเยื่อบุผิวเร็วขึ้นเป็นสองเท่า ฟื้นหายเร็วขึ้นและไม่ก่อให้เกิดการตกสะเก็ดที่หนาหรือมีร่องรอยแผลเป็น (รุ่งทิวา ชอบชื่น, 2556)



*Corresponding author e-mail: putthachat@nmu.ac.th, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิาช


 


 



แผลกดทับบริเวณก้นกบเป็นความท้าทายในการดูแล เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีโอกาสปนเปื้อนอุจจาระมาก เพราะอยู่ใกล้บริเวณช่องทางขับถ่าย การเลือกใช้วัสดุไม่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ห่อหุ้มหรือ
คลุมแผลเพื่อกันน้ำได้อย่างมิดชิด เพราะต้องเน้นให้มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนเพื่อส่งเสริมกระบวนการหาย
ของแผล หากเลือกใช้วัสดุที่ดี ราคาแพง แต่เมื่อมีการปนเปื้อนจากอุจจาระและปัสสาวะจนแผลเปียกชื้น
ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนวัสดุทำแผล จนเพิ่มค่าใช้จ่ายให้ผู้ป่วยและครอบครัว การเช็ดถูบาดแผลบ่อยครั้งยังเป็น
การทำลายเนื้อเยื่ออ่อนที่เจริญเติบโตขึ้นมาใหม่และทำให้อุณหภูมิของแผลลดลง การทำแผลที่มากเกินไป
จึงรบกวนกระบวนการหายของแผล (รุ่งทิวา ชอบชื่น, 2556) การปกป้องไม่ให้แผลกดทับที่ก้นกบเพิ่มระดับความรุนแรงยิ่งขึ้นพร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการหายของบาดแผลเร็วขึ้นจึงเป็นบทบาทสำคัญของพยาบาล
ในการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล  


สรุปผล


นวัตกรรม “3 P” สามารถช่วยลดอัตราการปนเปื้อนแผลกดทับบริเวณก้นกบ และลดค่าใช้จ่ายในการทำแผลกดทับบริเวณก้นกบ โดยขั้นตอนการใช้นวัตกรรม “3 P” มีความสะดวกและไม่ยุ่งยาก       

Article Details

How to Cite
ใจกาศ พ. (2018). Quality improvement project Innovation: “3P” protection pressure injury paper. Vajira Nursing Journal, 20(2), 50–54. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/160443
Section
miscellaneous

References

รุ่งทิวา ชอบชื่น. (2556). Nursing care in pressure sore. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28, 41-46.
วิจิตร ศรีสุพรรณ. (2553). การดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ. เชียงใหม่: โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.