ผลการปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดความรู้การเพาะเห็ดอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของฟาร์มเห็ดในภาคตะวันออก

Main Article Content

อนุสรณ์ ส่งทิพย์เจริญกุล
สุวารีย์ ศรีปูณะ
อนัญญา โพธิ์ประดิษฐ์
ผมหอม เชิดโกธา

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดการเพาะเห็ดอินทรีย์ด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นการวิจัยแบบวิธีผสม แบ่งเป็น 2 ระยะคือ (1) เตรียมการพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้แนวใหม่โดยการร่างรูปแบบการพัฒนาการการเพาะเห็ดอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการจัดการสนทนากลุ่ม (2) ดำเนินกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยใช้พื้นที่ วิสาหกิจชุมชนฟาร์มเห็ดมั่นศรี อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว เป็นพื้นที่จัดการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยมีเกษตรกรผู้เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเพาะเห็ดอินทรีย์จำนวน 50 คน ที่คัดเลือกจากกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเห็ดที่ไม่ประสบความสำเร็จเข้ามารับการถ่ายทอดในฐานการเรียนรู้ที่จัดขึ้นเป็น 4 ฐาน คือ (1) ฐานการผลิตก้อนเห็ด (2) ฐานการเปิดดอกและการเก็บดอก (3) ฐานการแปรรูป (4) ฐานการจัดการสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ที่เหลือจากจากใช้งาน และทำการเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการถ่ายทอดโดยใช้แบบทดสอบความรู้ ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาความรู้ในฐานที่ 1 ดีขึ้นในระดับสูง ยกเว้นด้านของเสียและของเหลือใช้จากการผลิตก้อนเห็ดที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนการพัฒนาความรู้ในฐานที่ 2 ส่วนใหญ่ดีขึ้นในระดับปานกลางและสูงมีเพียงด้านการบรรจุก้อนเห็ดและระยะเวลาการบ่มก้อนเห็ดที่เหมาะสมนั้น ยังจัดอยู่ในเกณฑ์ต่ำ การพัฒนาความรู้ในฐานที่ 3 การแปรรูป และฐานที่ 4 การจัดการสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ เหลือจากการใช้งาน พบว่า ในทุกๆประเด็นความรู้มีการพัฒนาขึ้นจนถึงระดับ ปานกลางและระดับสูง ทั้งนี้ระดับคุณภาพของรูปแบบการถ่ายทอดการเพาะเห็ดอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของฟาร์มเห็ดในพื้นทีภาคตะวันออกตามทัศนะของผู้เข้ารับการมากถึง 4.77 ซึ่งมีคุณภาพในระดับมากที่สุด


           The objective of this research was to develop a model of propagation of organic mushroom by environmental education.The research method was mixed in 2 phases: (1) preparation of new knowledge transfer model Development of environmentally friendly mushroom cultivation. (2) To conduct knowledge transfer activities. Using space Enterprise of Mushroom Farm, Muang District, Sa Kaeo Province. There were 50 unsuccessful Mushroom Farmers. Knowledgebase was divided into 4 bases. 1) Mushroom cube production base (2) Flower opening and collecting base (3) Variable base (4) Management base And compare the knowledge before and after the transfer using the knowledge test. The results show that the development of knowledge base 1 improved at a high level. Excludes wastes and residues from the production of mushrooms that may affect the environment. Most of the development of knowledge in base 2 was medium and high. Only the mushroom stuffing and the appropriate mushrooming period were still low. The development of knowledge base 3, processing and base 4, management of facilities and materials, and management of the remaining materials from the use. Every aspect of knowledge has evolved to the point. Moderate and high quality of the environmentally friendly mushroom culture transmission of mushroom farms in the eastern part of the country was 4.77, with the highest quality.

Article Details

Section
บทความวิจัย