การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ณพัฐอร บัวฉุน

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนวัดนาวง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 89 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ใน การรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 ชุด แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนด้วย แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .24–.74 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .22–.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .81 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพชุดฝึก E1 /E2 และการทดสอบค่า t


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 84.51/81.53 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด

 


 


               The purposes of this research were to develop the Scientific Process Skill Drills on Materials around us for Grade 3, to find out the efficiency of the the Scientific Process Skill Drills based on the standardized efficiency criteria of 80/80 criteria, to compare the pupils’ learning achievement before and after using the the Scientific Process Skill Drills, and to find out the pupils’ satisfaction after using the Scientific Process Skill Drills. The sample of this study consisted of 84 pupils in grad 3 students, at at Watnawong School, under the jurisdiction of Pathum tani Educational Service Area Office 1 in the second semester of academic year 2015, gained by simple random sampling. The data collection instruments were 12 the Scientific Process Skill Drills and 40 items of pre-test and post-test. The test difficulty indices ranged from .24–.74, the discrimination indices ranged from .22–.75, the reliability value was .81. The statistics employ for data analysis were the efficiency value of E1 /E2 , percentage, mean, standard deviation and t-test.


The research findings were as follows:


  1. The Scientific Process Skill Drills were efficient since the criteria were found at 84.51/81.53 based on the standardized efficiency criteria of 80/80.

  2. The pupils’ learning achievement after using the packages was significantly higher than that before using them at .05 level.

  3. The pupils’ satisfaction was at the highest level with the mean of 4.72. Keywords: the Scientific Process Skill Drills, Basic Science Process Skills, on Materials around us, Grade 3

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ณพัฐอร บัวฉุน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี