รูปแบบการกำจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาจังหวัดสระบุรี

Main Article Content

ธีระพงษ์ จองหยิน
นิสา พักตร์วิไล
วีระวัฒน์ อุ่นเสน่หา
อนัญญา โพธิ์ประดิษฐ์

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการกำจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี 2) รวบรวมปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี ดำเนินการวิจัยโดยการเข้าพบบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการขยะมูลฝอยและเยี่ยมชมสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรีจำนวน 12 แห่ง ร่วมกับสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเอกชนอีก 1 แห่ง เพื่อสัมภาษณ์ บันทึกและตรวจวัดขยะมูลฝอยในปริมาณสถานที่กำจัด พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรีทั้ง 108 แห่ง มีประชากรรวม 625,689 คน มีอัตราเกิดขยะ 0.96 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน รวมขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น 385.14 ตันต่อวัน และมีขยะตกค้างสะสม 201,720 ตัน
มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง เอกชน 1 แห่ง  ใช้วิธีการแบบฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลจำนวน 1 แห่ง การเทกองที่มีการควบคุม จำนวน 1 แห่ง เทกองและเผากลางแจ้ง จำนวน 10 แห่ง นำไปใช้เป็นพลังงานจำนวน 1 แห่ง (เอกชน) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี คือ ขาดเครื่องจักกลในการดำเนินการฝังกลบ 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 58.31 สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยมีน้อย 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 33.33 ไม่มีสถานที่เก็บรวบรวมขยะมูลฝอยอันตรายเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 91.63 ถูกสั่งให้ปิดการดำเนินการ 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 16.67 ขยะมูลฝอยเต็มพื้นที่ปิด 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 8.33 เหลืออายุการใช้งานของพื้นที่น้อย 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 99.96  ทำการฝังกลบแบบไม่ถูกหลักวิชาการ 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 33.33 เทกองกลางแจ้งและทำการเผา 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 74.97 เกิดไฟไหม้โดยไม่ทราบสาเหตุบ่อยครั้ง 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 8.33 ปัญหาการร้องเรียนของประชาชนว่าได้รับผลกระทบ 8 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 66.64 ใช้พื้นที่ ไม่ถูกกฎหมาย
2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 16.67 ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง (ร้อยละ 13.80) ไม่มีสถานที่ในการกำจัดขยะมูลฝอย และจำนวน 6 แห่ง (ร้อยละ 5.52) มีปัญหาด้านการขนส่งขยะมูลฝอย


 


 


               This research aims to 1) study the solid waste management system of the local administrative organization in Saraburi province (OSP) and, 2) Collecting problems of solid waste management of OSP. Conducted research by contact people who are involved with the waste management system, and visit 12 OSP waste disposal sites and 1 private site. To interview, record and measure the amount of solid waste at disposal sites. The research found that OSP has 108 sites. The total population is 625,689 people. The rate of waste is 0.96 kg per person per day. Total waste incurred 385.14 tons per day, and there are 201,720 tons of residue. There are 12 municipal and one private waste disposal facilities. One Sanitary Landfill method is used, one Control Dump, 10 outdoor piles and burners, and used as energy 10 places. (Private) Problems and obstacles in the solid waste management of OSP are lack of mechanical equipment in seven landfill operation accounted for 58.31 %. 4 OSP has inadequate disposal sites accounted (33.33%). There are no hazardous waste collection sites to remove 11 properly accounted for 91.66 % was ordered to close two operations at 16.67 %. Full waste landfill (closed) 1 place is 8.33%. The remaining life of less space 12 of them accounted for 100 %. Incorrect landfill 4 of them accounted for 33.33 %. Pour the middle of the fire and burn 9 of them or 74.97 %. One common cause of the fire was 8.33 %. The problem of public complaint that affected 8 places is 66.64 %. Two unregistered areas accounted for 16.67 %. Problems and obstacles in the solid waste management of OSP there is no place to dispose of solid waste. There are 15 garbage transportation charges, representing 13.80 %. Some waste disposal sites are the problem to find six reserves or 5.52 %.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ธีระพงษ์ จองหยิน

นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา  สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี

นิสา พักตร์วิไล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำ หลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี

วีระวัฒน์ อุ่นเสน่หา

อาจารย์ประจำหลักสูตร หลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี

อนัญญา โพธิ์ประดิษฐ์

อาจารย์ประจำหลักสูตร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา  สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา  มหาวิทยาลัย  ราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี