ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามมาตรฐานบริการสาธารณะกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลเมืองในประเทศไทย

Main Article Content

นิพนธ์ ไตรสรณะกุล

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาการบริหารงานตามมาตรฐานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2)เพื่อศึกษาการใช้หลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลเมืองในประเทศไทย(3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามมาตรฐานบริการสาธารณะกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลเมืองในประเทศไทยและ(4)เพื่อสร้างตัวแบบการบริหารงานตามมาตรฐานบริการสาธารณะในการบรรลุการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลเมืองในประเทศไทย

ขอบเขตการวิจัยศึกษาพื้นที่เทศบาลเมืองในประเทศไทยทั้งหมด 142 แห่ง ทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์นายกเทศมนตรีเทศบาลเมือง ปลัดเทศบาลเมืองและตรวจสอบเอกสารการดำเนินงานของเทศบาล 284 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์จากคำถามเชิงลึกในการลงพื้นที่จริง เอกสารราชการ และการสังเกตการณ์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารงานตามมาตรฐานบริการสาธารณะและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลเมืองในประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ Canonical Correlation และ Path Analysis ตามตัวแบบ

สมมติฐานการวิจัย

ผลการทดสอบสมมติฐานโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Canonical พบว่า การบริหารงานตามมาตรฐานบริการสาธารณะ มีความสัมพันธ์กับการบรรลุการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลเมืองในประเทศไทยในระดับมากโดยเฉพาะมาตรฐานบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น และการท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลเมือง 3 หลัก คือการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การปรับปรุงภารกิจของเทศบาล และหลักการประเมินผลการปฏิบัติการ

จากผลการศึกษาเบื้องต้นนำไปสู่การสร้างตัวแบบการบริหารงานเทศบาลเมืองเพื่อบรรลุการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของท้องถิ่น โดยการวิเคราะห์เส้นทาง(Path Analysis) ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และแนวทางในการกระตุ้นบทบาทการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรฐานการบริการสาธารณะโดยเฉพาะการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และมีการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี ท้องถิ่น และการท่องเที่ยว ที่ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การบริหารงานของเทศบาลเมืองสามารถบรรลุการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีได้ และสามารถบรรลุตามหลักการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การปรับปรุงภารกิจของเทศบาล และการประเมินผลการปฏิบัติการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

RELATIONSHIP BETWEEN PUBLIC SERVICE OF STANDARD AND LOCAL GOVERNANCE OF TOWN MUNICIPALITIES ADMINISTRATION IN THAILAND

The objectives of the study were; to study standard practices of public service in town municipality administration; to study the core concept of good governance of local governance in Thailand; to study the relationship between standard practices of public service in town municipality administration and local governance in Thailand; and to create the model of standard practices of public service in town municipalities administration for achieving the local governance in Thailand.

The scope of this study aimed in 142 town municipalities in Thailand. Researcher employed 2 tools for collecting data; questionnaire and literature review. Questionnaire was completed by interviewing municipal mayors and clerks, and literature review was completed by assessing 284 annual reports of municipality. Research methodologies were qualitative and quantitative methods. Qualitative method was used by in-depth interviewing in the fields, reviewing official documents, and observing the administration on standard practices of public service in town municipality administration local governance in Thailand. Quantitative analysis was employed Canonical Correlation and Path Analysis for testing hypothesizes

The result of statistical analysis showed that standard practices of public service in town municipality administration had a strong relationship with the achievement of local governance. This service standard particularly related with infrastructure, supporting quality of life, and supporting art, culture, and travel activity. Also, the service standard related in 3 core concept of local governance, which were to reduce operational process, to improve mission of municipality, and to evaluate the operation.

From these results, the model of town municipality administration could be created for local governance. Path analysis was employed to develop the model, which created new knowledge and the solution for stimulating the role of administration in local governance based on the standard of infrastructure and quality of life supporting. The result of this standard administration could lead to the satisfaction of people in local areas. The feeling of satisfaction was an important part for town municipality administration to affectively achieve those 3 core concepts.

Article Details

Section
บทความวิจัย