การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จการบริหารงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

อรสา แก้วสารถี
สมบัติ คชสิทธิ์
อรสา จรูญธรรม

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จการบริหารงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จ การบริหารงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 1, 2 และ 3 ปีการศึกษา 2555 จำนวน490 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อตรวจสอบความตรงตามทฤษฎีหรือความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จการบริหารงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การตรวจสอบความสอดคล้องความกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ ค่าสถิติไค-สแควร์(Chi-Square) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (Goodness of fit index = GFI) และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (Adjusted Goodness of fit index = AGFI) และค่าดัชนีรากกำลังสองของส่วนที่เหลือ (Root mean squared = RMR)ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จการบริหารงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลักทั้ง 7 มีค่าเป็นบวกและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยองค์ประกอบหลักด้านงานบริหารทั่วไป มีความสำคัญมากที่สุด และมีความผันแปรร่วมกับองค์ประกอบรวมความสำเร็จการบริหารงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 100 และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จการบริหารงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อนำมาพิจารณาความกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบของตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จการบริหารงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวมจากค่าสถิติต่างๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์ การทดสอบไค-สแควร์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้และเมื่อพิจารณาดัชนีกลุ่มที่กำหนดไว้ที่ระดับมากกว่าหรือเท่ากับ .90 คือดัชนี GFI, AGFI, NFI, IF, CFI และดัชนีที่กำหนดไว้ที่ระดับน้อยกว่า .05 คือ ดัชนี RMR และ RMSEA ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ดัชนี CMIN/df มีค่าเท่ากับ 1.17 ซึ่งเข้าใกล้ 1 สรุปได้ว่า โมเดลองค์ประกอบของตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จการบริหารงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

 

THE DEVELOPMENT OF THE OVERALL ACHIEVEMENT INDICATORS OF THE ADMINISTRATION OF THE BASIC EDUCATIONAL INSTITUTES UNDER THE LOCAL

The objectives of this research were 1) to develop the overall achievement indicators of the administration of the basic educational institutes under the local governments and 2) to check the correspondence between the overall achievement indicators model of the administration of the basic educational institutes under the local governments as developed by the researcher and the observatory data. The 490 respondents in this study included the administrators of the basic educational institutes under the local governments in the provincial regions 1, 2 and 3 in the academic year 2012 (2555). The data and information were analyzed by the Confirmatory Factor Analysis in order to verify the theoretical validity, as well as the correspondence of the overall achievement indicators model of the administration of the basic educational institutes under the local governments. The correspondence between the overall achievement indicators model and the observatory data was approved through statistical devices including the Chi-Square, the Goodness of Fit Index (GFI), the Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) as well as The Root Mean Squared (RMR).

The research results indicated that the seven components of the overall achievement indicators of the administration of the basic educational institutes under the local governments possessed a positive value at the statistical significant level of 0.05. The principal component of general administration was ranked the highest level of importance and varied to the component of the administration of the basic educational institutes at 100 percent. The results from the Confirmatory Factor Analysis of the overall achievement indicators of the administration of the basic educational institutes under the local governments indicated no correspondence according to the Chi-Square Test at a significant level of 0.05. However, both groups of indicators defined at the level of 0.90 or over (GFI, AGFI, IF and CHI) and the ones defined at the level of less than 0.05 (RMR and RMSEA) were acceptable at the criterion level. The CMIN/df indicator of 1.17, which was close to 1, indicated that there was a correspondence between the overall achievement indicators model of the administration of the basic educational institutes under the local governments developed by the researcher and the observatory data.

Article Details

Section
บทความวิจัย