การประเมินสมรรถนะการบริหารน้ำของสำนักการระบายน้ำในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วัชรินทร์ โกมลมาลย์

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร และ 2) ประเมินสมรรถนะการบริหารน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร การศึกษานี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 32 คน ที่เลือกแบบเจาะจงจากบุคคล 5 กลุ่ม คือ 1) ผู้รับผิดชอบนโยบายของกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 คน 2) ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร จำนวน 24 คน 3) ผู้แทนองค์กรภาคประชาชน/ประชาสังคมในเขตพื้นที่ที่ทำการวิจัย จำนวน 2 คน 4) ผู้แทนภาคเอกชนในเขตพื้นที่ที่ทำการวิจัย จำนวน 2 คน และ 5) นักวิชาการ จำนวน 2 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 32 คน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน ที่เลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากกลุ่มประชากรจำนวน 3,014,597 คน ใน 42 เขตของกรุงเทพมหานครที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และเพื่อเพิ่มความถูกต้องจึงเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างเป็น 468 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1) สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร มีแนวทางการบริหารน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยการสร้างความเชื่อมโยงกับแนวทางการบริหารน้ำของรัฐบาล ให้มีความสอดคล้องเป็นเอกภาพในการอำนวยการและบริหารจัดการทุกพื้นที่ให้เป็นแนวทางเดียวกัน ให้สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน โดยดำเนินการเร่งระบายน้ำ ผลักดันน้ำ และเร่งแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการระบายน้ำ ตามแนวถนน สิ่งก่อสร้าง และขจัดสิ่งกีดขวางการระบายน้ำ รวมทั้งได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ระบายน้ำและเครื่องผลักดันน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด และได้วางแนวทางการบริหารน้ำตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของกรุงเทพมหานคร เรื่องการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นมหานครแห่งสิ่งแวดล้อม ที่มีเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการป้องกันน้ำท่วมและการระบายน้ำ ประกอบด้วยแนวทางในการแก้ไขปัญหาจุดล่อแหลมที่มีน้ำท่วมถนนสายหลัก แนวทางในการจัดหาพื้นที่เพื่อกำหนดเป็นแหล่งรับน้ำ (แก้มลิง) และแนวทางการก่อสร้างและปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครขึ้นในสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานครอีกด้วย

2) สมรรถนะการบริหารน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมรรถนะหลัก 2 ด้าน คือ (1) สมรรถนะระดับนโยบายมีผลต่อโดยตรงต่อการบรรลุเป้าหมายความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และความยั่งยืนของการบริหารน้ำในเขตกรุงเทพมหานครของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร พบว่ามีสมรรถนะในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย ด้านการปฏิบัติตามนโยบาย อยู่ในระดับสูงตามลำดับ และด้านการประเมินผลตามนโยบายอยู่ในระดับปานกลาง (2) สมรรถนะระดับการบริหารจัดการ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านภาวะผู้นำ ด้านการสนับสนุน และด้านเทคโนโลยี มีสมรรถนะอยู่ในระดับสูง ตามลำดับ และด้านการสร้างเครือข่าย ด้านการประสานองค์กรภาครัฐ/เอกชน และด้านความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง มีสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ และด้านทรัพยากรทางการบริหารและด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน มีสมรรถนะอยู่ในระดับต่ำ

3) แนวทางการปรับปรุงสมรรถนะการบริหารน้ำของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยการดำเนินการที่สำคัญ คือ (1) ให้มีการวางแนวทางการบริหารน้ำอย่างยั่งยืนและเป็นระบบ โดยมีการบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร (2) ให้มีการศึกษาแนวทางการบริหารน้ำที่เป็นข้อเสนอของนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และนำมาปรับใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง (3) เร่งแก้ไขปัญหาการรุกล้ำลำน้ำ คูคลอง ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ (4) ควรมีการศึกษาแนวทางการสร้างเขื่อนใต้ดินเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร และ (5) ให้นำตัวอย่างการปฏิบัติที่เป็นเลิศของต่างประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย

 

THE COMPETENCY ASSESSMENT ON WATER MANAGEMENT OF DRAINAGE AND SEWERAGE DEPARTMENT, IN BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION

The objectives of this study of the Competency Assessment on Water Management of Drainage and Sewerage Department, in Bangkok Metropolitan Administration were 1) to study the water management to prevent and to solve the problem of flooding situation operating by Drainage and Sewerage Department, Bangkok Metropolitan Administration 2) to assess the competency of water management in order to prevent and solve the problem of flooding situation operating by Drainage and Sewerage Department, Bangkok Metropolitan Administration. This study employed mixed methods research which combined qualitative research and quantitative research. The qualitative research approach was conducted by in-depth interviewing with 32 key informants who were selected by purposive sampling technique from 5 groups of people as follows: 1) 2 persons from the policy authorized Administrators of Bangkok Metropolitan Administration 2) 24 persons from the directors and the operators from Drainage and Sewerage Department, Bangkok Metropolitan Administration 3) 2 persons from public representatives / civil society in research area 4) 2 persons from private sector in research area and 5) 2 technocrats. The data were analyzed by using content analysis. The quantitative approach was conducted by studying 468 samples, who were selected by simple random sampling technique from the population of 3,014,597 in 42 districts of Bangkok which were affected by the flooding. The sample size was derived using Krejcie and Morgan table, and in order to increase the confidence of the data, the sample size was increased to 468 respondents. The research tool for data collection was a questionnaire with the level of confidence 0.05. The statistics used for data analysis composed of percentage, mean and standard deviation.

The research findings were as follow:

1) The water management of the Drainage and Sewerage Department, Bangkok Metropolitan Administration aimed to prevent and to solve flooding problem in association with the government policy to create the unity of the management in the concurrence direction sustainable problem solving, focus on a rush drainage management and participation in obstacles eliminating along waterway comprising roads, constructions obstructing water drainage management including weed and garbage termination. Also drainage equipment and water pushing - machines were mounted in several areas to push the water into the sea as quickly as possible which complied with the 3rd strategy of BMA Development Plan in developing the Green Bangkok. Their objectives were to increase the drainage system efficiency comprising the guideline for solving the critical point on main road flooding, guideline in supplying for water detention basin (Kaem Ling project area) and guideline for construct and improve meant of floodwalls, and the Flood Control Center of Bangkok was established in the Drainage and Sewerage Department.

2) The competency of water management to prevent and to solve problems of the Drainage and Sewerage Department, Bangkok Metropolitan Administration composed of two main competencies as follow: (1) the competency in policy level directly affecting the goal attainment included stakeholder satisfactions and the sustainable water management in Bangkok by the Drainage and Sewerage Department. It was found that the competency of water management in overall were at high levels both in the aspect of policy objectives and policy performance while policy assessment was at moderate level, (2) the competency level of water management in overall was at moderate level. While considered in each aspect found that the aspects of leadership, supportive and technology were at high levels, respectively. The aspect of network creating, coordination between government section and private section and cooperation between stakeholders were at moderate levels, respectively while in aspect of administrative resources and people’s participation aspect were at low levels.

3) The guidelines for competency improving of water management by the Drainage and Sewerage Department, in Bangkok Metropolitan Administration consisted of five main activities as follows: (1) the sustainable and systematic water management guidelines should be established and integrated with several units from outside and inside BMA (2) the further studies on the guidelines of water management from academicians in specific area should be conducted and its result should be utilized in preventing and solving flooding problems (3) the measures for waterway invasion problem solving in Bangkok should be determined to eliminate the obstacles of water drainage (5) further study on underground dam construction should be conducted to prevent and to solve flooding problem in Bangkok (5) the best model of success should be adapted as the best practice appropriately in Thailand.

Article Details

Section
บทความวิจัย