ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย

Main Article Content

ฤทัย โปวานนท์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบความสามารถทางมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย–หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2556 ของโรงเรียนทานสัมฤทธิ์วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ได้มาโดยวิธีการเลือกนักเรียน 1 ห้องเรียนจากจำนวน 3 ห้องเรียนแล้วสุ่มนักเรียนจำนวน 15 คน จากห้องเรียนที่เลือก โดยการจับสลาก ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและแบบทดสอบความสามารถทางมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างความสามารถกับจุดมุ่งหมาย (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.47 การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One  Group  Pretest - Posttest  Design สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ t – test แบบ Dependent Sample และค่าขนาดส่งผลของโคเฮน (Cohen's d) ผลการวิจัยพบว่า

1)    หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย  เด็กปฐมวัยมีคะแนนความสามารถทางมิติสัมพันธ์โดยรวมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 11.04, p = .00) และมีขนาดส่งผลต่อความสามารถทางมิติสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Cohen's d = 2.85)

2)    ความสามารถทางมิติสัมพันธ์รายด้านทุกด้านมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 4.70 - 8.26, p = .00) และมีขนาดส่งผลต่อความสามารถทางมิติสัมพันธ์ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านตำแหน่งของสิ่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน ด้านความเหมือนความต่าง ด้านการต่อเข้าด้วยกัน และด้านการแยกออกจากกัน (Cohen's d = 2.13, 2.02, 1.79 และ 1.21 ตามลำดับ)

Article Details

Section
บทความวิจัย