การพัฒนาตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

โพยม จันทร์น้อย
สมบัติ คชสิทธิ์
ช่อเพชร เบ้าเงิน

Abstract

         วัตถุประสงค์การวิจัย 1) ศึกษาภาระงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  2) พัฒนาตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) สร้างเกณฑ์ตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน วิธีดำเนินการวิจัยมี   3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาภาระงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 384 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ใช้เทคนิคเดลฟาย โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอน ที่ 3 สร้างเกณฑ์ตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการของครู จำนวน 50 คน ร่วมกันสร้างเกณฑ์ระดับคุณภาพแต่ละตัวชี้วัด แล้วให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมในการนำไปใช้ ผลการวิจัยพบว่า1. ภาระงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษามี 3 องค์ประกอบงานหลัก ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านงานจัดการเรียนการสอน มี 26 ภาระงาน 2) องค์ประกอบด้านงานครูที่ปรึกษา มี 18 ภาระงาน 3) องค์ประกอบด้านงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย มี 17 ภาระงาน 2. การพัฒนาตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า 1) องค์ประกอบด้านงานจัดการเรียนการสอน มี 37 ตัวชี้วัด 2) องค์ประกอบด้านงานครูที่ปรึกษา มี 18 ตัวชี้วัด 3)องค์ประกอบด้านงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย มี 11 ตัวชี้วัด 3. การสร้างเกณฑ์ตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา  พบว่า ที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ กำหนดเกณฑ์ระดับคุณภาพได้ 3 ระดับ ดังนี้ ระดับ 3 หมายถึง ดีเด่น ผลการประเมินเป็นที่พอใจอย่างยิ่ง ระดับ 2 หมายถึง  เป็นที่ยอมรับได้ ผลการประเมินเป็นที่พอใจตามมาตรฐาน ระดับ 1 หมายถึง ต้องปรับปรุง ผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานมาก และยังไม่เป็นที่พอใจ ส่วนการตรวจสอบความเหมาะสมในการนำไปใช้ของเกณฑ์ระดับคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ทุกเกณฑ์ระดับคุณภาพมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ โดยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

Section
บทความวิจัย