การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบยูเลิร์นนิงเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์ ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

มหาชาติ อินทโชติ
สาโรช โศภีรักข์

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบยูเลิร์นนิงด้วยกระบวนเรียนรู้แบบโครงงานที่เสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบยูเลิร์นนิงด้วยกระบวนเรียนรู้แบบโครงงานที่เสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของผลงานที่เกิดจากทักษะการสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบยูเลิร์นนิงแบบปกติกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบยูเลิร์นนิงที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน และ4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น

            กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อนวัตกรรมการสอนและเทคโนโลยีสารสนเทศ  ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน และด้านจิตวิทยาการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 17 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และ 3) นิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์และคณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเทคโนโลยีการศึกษาเบื้องต้น (01169311) ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียนเพื่อให้เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบฝึกทักษะการสร้างสรรค์ แบบประเมินผลงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired samples      t-test และ independent t-test

            ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิง มี 3 องค์ประกอบดังนี้ (1) ยูเลิร์นนิง ประกอบด้วย บุคลากร วิธีการสอน บริบท และ อุปกรณ์ ( 2) กระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย การนำเข้าสู่บทเรียน การเลือกหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจ การวางแผนดำเนินงานการสร้างสรรค์ชิ้นงาน การนำเสนอผลงาน และ การประเมินผลงาน  และ (3) ทักษะการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ประกอบด้วย การคิดสร้างสรรค์   การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ และ การนำเอานวัตกรรมมาสู่การปฏิบัติ โดยมีความคิดเห็นที่เห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด  2) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะสร้างสรรค์ ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน         ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53

Article Details

Section
บทความวิจัย