วัฒนธรรมไทยกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น

Main Article Content

กัมลาศ เยาวะนิจ

Abstract

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตของผู้เขียน และเป็นการนำเสนอผลการศึกษาเชิงเอกสารเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในท้องถิ่นของประชาชน เพื่อสร้างกรอบแนวคิดสำหรับการวิจัยที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้อเท็จจริงต่อไปในอนาคต การศึกษาเอกสารนี้มุ่งเน้นอธิบายผลกระทบที่ปัจจัยทางวัฒนธรรมอาจมีต่อการมีส่วนร่วมดังกล่าว ผลจากการศึกษาเอกสารผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า การอธิบายการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยอาศัยเฉพาะแนวคิด ทฤษฎีวัฒนธรรมทางการเมืองนั้นยังไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจการมีส่วนร่วมทางการเมือง จึงได้เสนอกรอบแนวคิดสำหรับการวิจัยว่า วัฒนธรรมของสังคมนั้นควรถูกผนวกเข้ามามีส่วนในการอธิบายการมีส่วนร่วมทางการเมือง และในส่วนสรุปผู้เขียนได้นำเสนอกรอบแนวคิดซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยด้านวัฒนธรรม และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งมีผลการวิจัยอื่นๆ ก่อนหน้านี้ระบุไว้ว่าสามารถส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นได้ โดยผู้เขียนมุ่งหวังว่ากรอบแนวคิดดังกล่าวจะสามารถอธิบายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองระดับท้องถิ่นได้

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ชิตพล กาญจนกิจ. (2545). ความไว้วางใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเมืองท้องถิ่นไทย : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบล. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2546). วิถีชีวิตไทย: วัฒนธรรมทางการเมืองของคนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ: หจก. สหายบล๊อกและการพิมพ์.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, และ ถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

มนูญ จันทร์สมบูรณ์. (2550). วัฒนธรรมธรรมาภิบาลของผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล. วิทยาลัยสหวิทยากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยสหวิทยากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Almond, G. A., & Verba, S. (1963). The Civic Culture: Political culture attitudes and democrary in five nations. Princeton, New Jersey: Prince ton University Press.

Berner, M. M., Amos, J. M., & Morse, R. S. (2002). What Constitutes Effective Citizen Participation in Local Government? view from city stakeholders. PublicAdministration Quarterly, 204-221.

Ebdon, C. (2002). Beyond the Public Hearing: citizen participation in the local government budget process. Journal of Public Budgeting, Accounting & Financial Management, 284.

Hofstede Centre, the. Country Comparison. Retrieved August 10, 2014, from the Hofstede Centre: http://geert-hofstede.com/countries.html

Hofstede, G. (1997). Cultures and Organizations: Software of the Minds. New York: McGraw-Hill.

Schein, E. (1999). The Corporate Culture Survival Guide. San Francisco: Jossey-Bass Inc.

Yang, K., & Callahan, K. (2007). Citizen Involvement Efforts and Bureaucratic Responsiveness: participatory values, stakeholder pressure, and administrative practically. Public Administration Review, 249-264.