การประยุกต์กระบวนทัศน์การตัดสินใจบนฐานของการแบ่งปันความรู้เพื่อเป็นกระบวนการปฏิบัติ แบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาท้องถิ่น

Main Article Content

สุวรรณา โชติสุกานต์

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยได้แก่ 1)  เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครองเกี่ยวกับการดำเนินการตามกระบวนการตัดสินใจบนฐานของการแบ่งปันความรู้ในการมีส่วนร่วม  ทางการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล   2) เปรียบเทียบความคิดเห็น ก่อนและหลังการได้รับความรู้การดำเนินการตามกระบวนการตัดสินใจบนฐานของการแบ่งปันความรู้ในการมี   ส่วนร่วมทางการบริหารจัดการศึกษา  3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการมีส่วนร่วม ความสามารถในการมีส่วนร่วม และความสัมพันธ์ของสถานศึกษากับผู้ปกครอง กับ การดำเนินการตามกระบวนการตัดสินใจ     บนฐานของการแบ่งปันความรู้   ประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งหมายรวมถึง ผู้อำนวยการสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการ หรือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการทั้ง 4 ฝ่าย  และ ผู้ปกครองของนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่   ได้กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารสถานศึกษา 420 คนและผู้ปกครอง 504 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น  สำหรับ   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเปรียบเทียบความคิดเห็นก่อนและหลังได้รับความรู้  สุ่มกลุ่มตัวอย่างตามขนาดสถานศึกษา ได้กลุ่มผู้บริหาร 60 คนและกลุ่มผู้ปกครอง 120 คน  เครื่องมือที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  คือ  แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และ แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครอง   ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครองที่มี คุณลักษณะ    ส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความเห็นต่อการดำเนินการตามกระบวนการตัดสินใจบนฐานของการแบ่งปันความรู้    ไม่แตกต่างกัน 2) หลังจากการได้รับความรู้ ทั้งกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและกลุ่มผู้ปกครองเห็นด้วยกับการดำเนินการตามกระบวนการตัดสินใจบนฐานของการแบ่งปันความรู้ ในระดับที่สูงกว่าก่อนการได้รับความรู้                    3) ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินการตามกระบวนการตัดสินใจบนฐานของการแบ่งปันความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสัมพันธ์ของสถานศึกษากับผู้ปกครอง ความสามารถในการมีส่วนร่วมและทัศนคติต่อการมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ความคิดเห็นของผู้ปกครอง ในการดำเนินการตามกระบวนการตัดสินใจบนฐานของการแบ่งปันความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการมีส่วนร่วม และ ทัศนคติต่อการมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

มณฑล จันทร์แจ่มใส. (2551). ปัจจัยใจการสื่อสารการตลาดที่มีต่อการท่องเที่ยวที่มีต่อการเลือกสถานที่

ท่องเที่ยว: กรณีศึกษาเกาะมุก จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2551). รายงานการศึกษาเรื่องระบบและกลไกการส่งเสริมบทบาทการมี

ส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองในการพัฒนาโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาการศึกษา

วีรกิตติ์ หาญปริพรรณ์ และคณะ. (2551). การมีส่วนร่วมของชุชนในงานยุติธรรมชุมชน: กรณีศึกษาชุมชน

คลองจระเข้น้อย ตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับกลาง รุ่นที่7 กระทรวงยุติธรรม

สัมพันธ์ อุปลา. (2541). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา

สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

Arora, Neeraj K. and McHorney, Collen A.. (2000). “Patient Preferences for Medical Decision

Making: Who Really Wants to Paticipate?” Medical Care. Vol. 38. 3(March): 335-341

(Brittie, L. V. (994). Attitude of Elementary Principals Toward Parent Involvement in School

in the Commonwealth of Virginia. Doctoral Dissertation East Tennessee State University

Chanan et.al., (1999). Regeneration and Sustainable Communities. London: Community

Development Foundation

Christenson, S.L. (2004). “The Family-School Partnership: An Opportunity to Promote the

Learning Competence of all Students.” School Psychology Review. 33(1):83-104

Coulter, Angela. (2009). Implementing Shared Decision Making in the UK. London: A Report

for the Health Foundation

Davies, D. (2009). “How to Build Partnerships that Work” Principal. 80 (1): 32-34

Epstein, J. L. (1995). “Paths to Partnership: What We Can Learn from Federal State, District and

School Initiatives.” Phi Delta Kappa. 72(5):344-349

Fraenkel, et.al., (2007). “Improving Informed Decision-Making for Patients with Knee Pain.” Journal of

Fheumato. 34(August): 1894-8

Lown, Beth A. (2009). “Mutual Influence in Shared Decision Making: A Collaborative Study of Patients

and Physicians.” Health Expectations. 12: 60-170

Gelder, Tim Van. ( 2010). Deliberative Decision. http://www.timvangelder.com. สืบค้นเมื่อ

/9/2554

Towle, Angela and Godolphin, William. (1999) “Framework for Teaching and Learning Informed

Shared Decision Making”. BMJ. (18 September): 319-337