ยุทธศาสตร์การตลาดโคเนื้อสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

อำนาจ ภิญโญศรี

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการผลิตและการตลาดโคเนื้อในประเทศไทย  2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การตลาดโคเนื้อสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ3) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์การตลาดโคเนื้อสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุณภาพ  แหล่งข้อมูลเชิงปริมาณรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อแบบเป็นการค้าตามนิยามของกรมปศุสัตว์ ปี 2555 จำนวน 21,919 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ ตารางของ Krejcie and Morgan ได้จำนวน 377 คน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยตนเอง จำนวน  12 คน การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ จำนวน 30 คน ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ ข้อมูลการสัมภาษณ์ใช้การสังเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยยึดหลักตรรกะยืนยันความถูกต้อง  

ผลการวิจัยพบว่า สภาพและปัญหาการผลิตและการตลาดโคเนื้อในประเทศไทย โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ปัญหาด้านการผลิต และปัญหาด้านการตลาด ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การตลาดโคเนื้อสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือปัจจัยด้านการผลิต ปัจจัยด้านการจัดการภาคเอกชน ปัจจัยด้านการตลาด และปัจจัยด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ในส่วนความคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์การตลาดโคเนื้อสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก คือ เสริมสร้างความร่วมมือในอุตสาหกรรมโคเนื้อกับประเทศในอาเซียน พัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการผลิตโคเนื้อทั้งปริมาณและคุณภาพ และปรับปรุงโครงสร้างระบบการผลิตสินค้าโคเนื้อให้สอดคล้องกับความต้องการและกลไกลตลาด

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมอาเซียน. (2554). แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน. กรุงเทพฯ: คาริสม่ามีเดีย

ครรชิต พุทธโกษา. (2554). กรอบประเด็นการวิจัยของประเทศไทยให้พร้อมรับสถานการณ์การรวมกลุ่ม

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ม.ป.ท.

ญาณิน โอภาสพัฒนกุล และ จุฑารัตน์ เศรษฐกุล. (2548). สถานภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อ

ของประเทศไทย. ม.ป.ท

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุรีวิยสาส์นการพิมพ์.

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ. (2550). โครงการ WTO Watch การจัดระเบียบการค้าสินค้าเกษตรระหว่าง

ประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฟิลิป คอตเลอร์, เฮอร์มาวัน คาร์ทาจายา และ ฮุย เดน ฮวน. (2556). คิดอย่างอาเซียน. แปลจาก

THINK ASEAN โดย ผุสดี ผลสารัมย์ และ ภาณุชาติ บุญยเกียรติ. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

ยุทธพงศ์ กัยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุรีวิยสาส์นการพิมพ์

ยอดชาย ทองไทยนันท์. (2547). การเลี้ยงโคเนื้อ. ม.ป.ท.

วิโรจน์ พุทธวิถี. (2547). การจัดการโลจิสติกส์ ขุมพลังของธุรกิจยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โอเอซิส ปรินติ้ง

แอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด

ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2550). โครงการศึกษา

ผลกระทบจากการทำ FTA สำหรับภาคเกษตรกรรม, 15 มีนาคม 2555.

http://www.thaifta.com/trade/study/agri_finalreport.pdf

ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสำนักงานเศรษฐกิจ

การเกษตร. (2551). โครงการศึกษาโอกาสและผลกระทบจากการทำ FTA ของไทยที่มีต่อ

สาขาการเกษตร ระยะที่สอง, 15 มีนาคม 2556.

http://www2.oae.go.th/biae/Negotiation.html.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2556). โอกาสโคเนื้อไทยในอาเซียน, 10 มีนาคม 2556. http://tpso.moc.go.th/img/news/1168-img.pdf,

Kotler Philip. (1980). Principle of Marketing. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-hall.

Thato Tseuoa, Yasmuan Syakat and Budiman Hakim. (2012). The Impact of the Australia

and Newzeland Free Trade Agreement on the Beef Industry in Indonesia,

March20 13.

http;//www.issaas.org. Journal/v18/02/jornual-issaas-v18n2-08-thao etal.pdf

USDA. (2013). Livestock and Poultry : World Markets and Trade, 16 March 2013.

http://apps.fas.usda.gov/psdonline/circulars/livestock_poultry.PDF