องค์ประกอบของทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

วิชสุดา ร้อยพิลา
ปรีดา ไชยา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิง

สร้างสรรค์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณโดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย

ตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น

แบบสอบถามความคิดเห็น ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคทางสถิติ  

Multiple Regression Analysis  และ Factor Analysis

              ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของทรัพยากรท่องเที่ยวมีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยด้านสิ่งอำนวยความสะดวกจะมีความสัมพันธ์และมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มากที่สุด รองลงมาคือด้านความเป็นมิตรไมตรี และด้านสิ่งดึงดูดใจ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่า มี 4 องค์ประกอบของปัจจัยทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ คือ องค์ประกอบด้านสิ่งอำนวยความสะดวก องค์ประกอบด้านความเป็นมิตรไมตรี  องค์ประกอบด้านสิ่งดึงดูดใจ และองค์ประกอบด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ. [ออนไลน์] . ได้จาก: ttp//www.mots.go.th.

[สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2557] .

. (2555). สถิตินักท่องเที่ยว. [ออนไลน์] . ได้จาก: http://www.tourism.go.th/ home/

details/11/221/24340. [สืนค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557] .

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวแปร SPSS for Window. กรุงเทพมหานคร.

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จามร วังศรีแก้ว. (2553) . แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์

วิทยาศาสตร์มหาบัณทิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2555). การท่องเที่ยว:มิติแห่งศาสตร์บูรณาการ. มหาวิทยาลัยนเรศวร. (วารสาร)

ณัฐนรี สมิตร. (2554). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วิทยานิพนธ์

วิทยาศาสตร์มหาบัณทิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธนกฤต สังข์เฉย. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ. เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ ,

มหาวิทยาลัยศิลปกรวิทยาเขตสารสนเทศ เพชรบุรี

ธีระ ชีวะเกรียงไกร. (2551). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มสนุกสกลนคร-

นครพนม-กาฬสินธุ์-มหาสารคาม.วิทยานิพนธ์รัฐศาสนศาตร์มหาบัณิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ธีระ สินเดชารักษ์ และ นาฬิกอติภัค แสงสนิท. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์:การรับรู้ของ

นักท่องเที่ยวความพร้อมของเจ้าของกิจกรรม และความเป็นไปได้ของการท่องเที่ยวชิงสร้างสรรค์ใน

ประเทศไทย. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.dasta.or.th. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 16 กันยายน 2557] .

นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร และคณะ. (2557). การสำรวจศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยวและ

ความตั้งใจท่องเที่ยวเลียบแม่น้ำในอนาคตในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. งานวิจัย. มหาวิทยาลัยราช

ภัฏสวนดุสิต

นิคม จารุมณี. (2544). การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว.กรุงเทพมหานคร.

บริษัทโอเอสพริ้นติ้งเฮาส์

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวธุรกิจที่ไม่มีวันตายของประเทศไทย. กรุงเทพฯ:

ซีพีบุ๊คสแตนดาร์ด

. (2549). การพัฒนาและการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด

ปานแพร เชาว์ประยูร. (2555). ปาย:การสร้างอัตลักษณ์และการให้ความหมายเชิงสัญญะทางวัฒนธรรม

เพื่อการท่องเที่ยว. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตบริหารศาสตร์. มหาวิทยาลัยแม่โจ้

แผนพัฒนาสถิติจังหวัดกาฬสินธุ์. (2557). [ออนไลน์] . ได้จาก: http//www.igphthai.org.

[สืบค้นเมื่อ วันที่ 26 สิงหาคม 2557] .

แผนยุทธศาสตร์จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2557-2560. (2557). [ออนไลน์] . ได้จาก: http//www.kalasin.go.th.

[สืบค้นเมื่อ วันที่ 26 สิงหาคม 2557] .

ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์:กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับ

ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร. (วารสาร)

มติชน. (2557). ททท.เปิดตัวไกด์บุ๊ค “I’m a Crative Tourist” ชวนคนไทยเป็นนักท่องเที่ยวสร้างสรรค์.

[ออนไลน์] . ได้จาก : http://www.matichon.co.th/news_detail.php? newsid=

&grpid=no&catid=no . [สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2557] .

มานิตย์ สิงห์ทองชัย และคณะ. (2555). การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ดที่ตอบสนองความ

ต้องการของนักท่องเที่ยวและชุมชน. งานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

สงกรานต์ เขื่อนธนะ. (2556). การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ลุ่มน้าว้า จังหวัดน่าน.

วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยพะเยา

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์.

ประสานการพิมพ์

สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์ และคณะ. (2557). แผนงานศักยภาพการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่การเป็น

ศูนย์กลางการเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน. รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานวิจัยแห่งชาติ

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน. (2555).

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. [ออนไลน์] . ได้จาก: http://www.dasta.or.th/th/theory

/489-489.html. [สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558] .

อรทัย เลิศวรรณวิทย์. (2557). แนวทางการสร้างและจัดการอัตลักษณ์สำหรับขนมไทยเพื่อส่งเสริมการ

ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. งานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.