กระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6

Main Article Content

ดนุพล ตลาด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน

การวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 คน ครูผู้สอน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่   จำนวน 51 คน รวมทั้งสิ้น  จำนวน 56 คน ปีการศึกษา 2557  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามกระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่  เขต 6  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์ เกี่ยวกับความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายเนื้อหา โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์จำนวน 11 คน  ผลการวิจัยพบว่า 

1) กระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม พบว่า  โดยรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่ามีการปฏิบัติมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า 

มีการปฏิบัติมากเช่นกัน  เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการจัดการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  ด้านการจัดการอินเทอร์เน็ต และด้านการจัดการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ  และ 2) จากการสัมภาษณ์ความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ด้านการจัดการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  มีความต้องการบุคลากรที่สามารถซ่อมแซมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้   ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี

การประมวลผลที่สูงให้เพียงพอกับความต้องการ   ต้องการงบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมจากหน่วยงานภายนอก  ส่วนด้านการจัดการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ   มีความต้องการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้งานได้ง่าย ตรงกับเนื้อหาที่ใช้ในการสอน มีความทนทานและใช้งานได้สะดวก ต้องการงบประมาณในการบำรุงซ่อมแซมอุปกรณ์ สำหรับความต้องการด้านการจัดการอินเทอร์เน็ตนั้น  มีความต้องการอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงในการรับส่งข้อมูล มีอุปกรณ์รับสัญญาณที่เสถียร มีสัญญาณ WIFI ครอบคลุมทั่วพื้นที่บริเวณโรงเรียน และมีบุคลากรที่มีความรู้ด้านอินเทอร์เน็ต

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม. (2557). รายงานการประชุมเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม.

กิตติพงษ์ ปินตา. (2548). สภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตประกอบการเรียนรายวิชาวิถีธรรมวิถีไทย

ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 โรงเรียนเมโทรเทคโนโลยี อำเภอเมืองเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2540). ก้าวไกลไปกับคอมพิวเตอร์: สาระคอมพิวเตอร์ที่ข้าราชการต้องรู้. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยี

อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

ฐิตารีย์ วิลัยเลิศ. (2554). รูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนในฝัน จังหวัด กาฬสินธุ์.

ปริญญานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิวัตร เกษแก้ว. (2555). ปัญหาและความต้องการในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครูโรงเรียนอัสสัมชัญ.

การค้นคว้าแบบอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

เศรณี มรกตคันโธ. (2550). การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนฮอดพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สร้อยตระกูล อรรถมานะ. (2545). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิริพรรษ์ คล้ายสุบรรณ์. (2549).สภาพปัญหาและความต้องการ การใช้สื่อการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุขุม เฉลยทรัพย์และคณะ. (2551). เทคโนโลยีสารสนเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559). กรุงเทพฯ:

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6. (2557). รายงานการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ.

อรพิน ชวลิตหิรัณย์. (2550). สภาพและความต้องการในการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียน

ประถมศึกษา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่