กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนบ้านสะพานสี่ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

Main Article Content

วิสูตร ชลนิธี

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษา 1) การดำเนินการกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนบ้านสะพานสี่  2) ผลการใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนบ้านสะพานสี่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการแบบผสมผสาน ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณนั้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู 12 คน ผู้ปกครอง 175 คน และนักเรียน 175 คน ได้มาด้วยการใช้สูตรคำนวณของเครจซีมอร์แกน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและพุทธศาสนา 8 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน 5 คน ครูผู้สอนวิชาสังคม 4 คน และพระภิกษุ 2 รูป ผู้ปกครองนักเรียน 5 คน และผู้แทนนักเรียน 5 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การจัดกลุ่มสนทนา และการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง

ผลการวิจัยดังนี้

1. กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนบ้านสะพานสี่ เป็นกลยุทธ์ มี 4 ขั้นตอน คือ (1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (2) การวางแผนกลยุทธ์ (3) การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ และ (4) การประเมินผลโดยใช้หลักภาวิตตะ 4  กลยุทธ์ดังกล่าวกำหนดโดยการสังเคราะห์ความคิดเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จากกลุ่มสนทนาและจากการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ

2. ผลการใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนบ้านสะพานสี่ ข้อมูลจากการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพชี้แสดงว่า

นักเรียนของโรงเรียนบ้านสะพานสี่มีการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งก่อนที่ทางโรงเรียนบ้านสะพานสี่จะมีการดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าว คุณภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

พนิดา คล้อสวัสดิ์. (2551). ปัจจัยเอื้อและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

พระมหาเสกสรร จิรภาโส (จี้แสง). (2552). การศึกษาวิเคราะห์หลักไตรสิกขาที่มีต่อการจัด การศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2554). การบริหารจัดการและการบริหารยุทธศาสตร์ของหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: โฟรเพช.

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สายสุนีย์ ปวุฒินันท์. (2541). ความรู้ ทัศนคติและการมีส่วนร่วมทำกิจกรรม ในโครงการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพื้นฐาน. (2553). การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติโครงการยกระดับคุณภาพครูและผู้บริหารสถานศึกษาทั้งระบบ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ปีงบประมาณ 2553-2555. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2553). การวิเคราะห์บริบท : ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต

โครงการ ยกระดับคุณภาพครูและผู้บริหารสถานศึกษาทั้งระบบ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งปีงบประมาณ 2553-2555. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Britton, Willoughby B. (2006). Meditation and Depression, A Dissertation Submitted to the Faculty of the Department of Psychology In Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Doctor of Philosophy, The University of Arizona. p. 8.

Claudio Carpano, James J. Chrisman and Kendall Roth, (1994) International Strategy and Assessment of the Performance Relationship University of North Carolina at Charlotte.

Marques, Joan and Satinder Dhiman. (2009). “Vipassana meditation as a path toward improved management practices,” in Journal of Global Business Issues; Summer 2009; 3, 2 ; ABI/INFORM Complete. p.77-82.

Glomb, Theresa M.,Michelle K. Duffy and others. (2011). Mindfulness at Work, In Anaparnasati Joshi, Joseph J. Matocchio (ed.) Research in Personnel and Human Resources Management Volume 30, Emerald Group, p. 115-157.

Goenka, S.N.(2001). Was the Buddha a Pessimist? Dhammagiri, Igatpuri : Vipasna Research Institute. p. 62.

Griffey, Simon. (1998). “Conceptual framework beyond the learning organization”, in Learning Organization, Vol. 5 Iss. 2, p. 68-73.