การจัดการร้านค้าปลีกที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค : การศึกษาร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พิษณุ อิ่มวิญญาณ
พนิต กุลศิริ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการจัดการร้านค้าปลีก และพฤติกรรมการซื้อสินค้า           จากร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าหรือใช้บริการจาก              ร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่าสถิติ T-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance)               และการวิเคราะห์ไค-สแควร์ (Chi-Square)

               ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามรับรู้ว่าร้านสะดวกซื้อมีลักษณะการจัดการร้านด้านการบริการ การคัดเลือกสินค้า คุณค่าด้านความสะดวก ลักษณะทางกายภาพ และคุณภาพสินค้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก

               ผลการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 พบว่า 1. พฤติกรรมการซื้อสินค้า               ด้านจำนวนเงินเฉลี่ยที่ใช้ซื้อสินค้า มีความสัมพันธ์กับ อายุ อาชีพ การรับรู้ด้านการบริการ การรับรู้ด้านคุณค่าด้านความสะดวก การรับรู้ด้านลักษณะทางกายภาพ และการรับรู้ด้านคุณภาพสินค้า 2. พฤติกรรมการซื้อสินค้า          ด้านความถี่ในการซื้อสินค้า มีความสัมพันธ์กับ เพศ อายุ อาชีพ การรับรู้ด้านคุณค่าด้านความสะดวก และการรับรู้ด้านลักษณะทางกายภาพ 3. พฤติกรรมการซื้อสินค้าด้านชื่อร้านสะดวกซื้อที่ซื้อสินค้า มีความสัมพันธ์กับ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และคุณภาพสินค้า 4. พฤติกรรมการซื้อสินค้า                 ด้านประเภทสินค้า มีความสัมพันธ์กับ เพศ อาชีพ การบริการ การคัดเลือกสินค้า และลักษณะทางกายภาพ                      5. พฤติกรรมการซื้อสินค้าด้านช่วงเวลาในการซื้อสินค้ามีความสัมพันธ์กับ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การคัดเลือกสินค้า คุณค่าด้านความสะดวก และคุณภาพสินค้า

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการจัดการร้านค้าปลีก และพฤติกรรมการซื้อสินค้า           จากร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าหรือใช้บริการจาก              ร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่าสถิติ T-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance)               และการวิเคราะห์ไค-สแควร์ (Chi-Square)

               ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามรับรู้ว่าร้านสะดวกซื้อมีลักษณะการจัดการร้านด้านการบริการ การคัดเลือกสินค้า คุณค่าด้านความสะดวก ลักษณะทางกายภาพ และคุณภาพสินค้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก

               ผลการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 พบว่า 1. พฤติกรรมการซื้อสินค้า               ด้านจำนวนเงินเฉลี่ยที่ใช้ซื้อสินค้า มีความสัมพันธ์กับ อายุ อาชีพ การรับรู้ด้านการบริการ การรับรู้ด้านคุณค่าด้านความสะดวก การรับรู้ด้านลักษณะทางกายภาพ และการรับรู้ด้านคุณภาพสินค้า 2. พฤติกรรมการซื้อสินค้า          ด้านความถี่ในการซื้อสินค้า มีความสัมพันธ์กับ เพศ อายุ อาชีพ การรับรู้ด้านคุณค่าด้านความสะดวก และการรับรู้ด้านลักษณะทางกายภาพ 3. พฤติกรรมการซื้อสินค้าด้านชื่อร้านสะดวกซื้อที่ซื้อสินค้า มีความสัมพันธ์กับ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และคุณภาพสินค้า 4. พฤติกรรมการซื้อสินค้า                 ด้านประเภทสินค้า มีความสัมพันธ์กับ เพศ อาชีพ การบริการ การคัดเลือกสินค้า และลักษณะทางกายภาพ                      5. พฤติกรรมการซื้อสินค้าด้านช่วงเวลาในการซื้อสินค้ามีความสัมพันธ์กับ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การคัดเลือกสินค้า คุณค่าด้านความสะดวก และคุณภาพสินค้า

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เขมลัทธ์ พัฒนสิน. (2552). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้ากลุ่ม Counter Fast Food ในร้าน 7-ELEVEN ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การตลาด). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จรินทร์ อาสารทรงธรรม. (2543). การบริหารการค้าปลีกในยุค 2000. สืบค้น วันที่ 30 สิงหาคม 2553,

จาก http://tulip.bu.ac.th/~jarin.a/MK330/retailing2000.htm

_________. (2543). สถานการณ์การค้าปลีกในปัจจุบัน. สืบค้น วันที่ 30 สิงหาคม 2553, จาก http://tulip.bu.ac.th/~jarin.a/MK330/retailing2000.htm

ปราโมชน์ รอดจำรัส. (2540). พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อร้าน 7-11 กรณีศึกษาเฉพาะเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (บริหารการตลาด). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภาสกร สุวรรณนิมิต. (2540). ทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store). สารนิพนธ์ ศศ.ม. (พัฒนาการเศรษฐกิจ) กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิภาสพล ชินวัฒนโชติ. (2550). ความพึงพอใจและแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่มีขายในเซเว่นอีเลฟเว่น. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การตลาด). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีระ โชติธรรมาภรณ์. (2549). การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการร้านสะดวกซื้อของประชาชน ในเขตดินแดง. งานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารนิเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุภาพร ชตานนท์. (2550). การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น (7-Eleven) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การตลาด). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2535). เขตการปกครองในกรุงเทพมหานคร. สืบค้น วันที่ 7 มิถุนายน 2553, จาก http://www.bma.go.th/samnak/yota/roaddata/main.htm.

Kotler, Philip; & Keller, Kevin L. (2009). Marketing Management. 13th ed. Publishing as Prentice Hall: Pearson Education, Inc.

Newman, Andrew J.; & Cullen, Peter. (2002). Retailing Environment & Operation. Australia : Saxon Graphics, Ltd.

Nunnally, Jum C. (1978). Psychometric theory. 2nd ed. New York: McGraw-Hill, Inc.

Schiffman Leon G.; & Kanuk, Leslie L. (2007). Consumer Behavior. 7th ed. Pearson Education, Inc.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.

Zikmund, William G. (2000). Exploring Marketing Research. 7th ed. New York: The Dryden Press.