ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อประกันภัยระบบแก๊สรถยนต์

Main Article Content

วทัญญู มหาโชคเลิศวัฒนา

Abstract

                     การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อประกันภัยระบบแก๊สรถยนต์  ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ประกันภัยระบบแก๊สรถยนต์  และปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อประกันภัยระบบแก๊สรถยนต์  เพื่อเป็นแนวทางสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยในการระบุกลุ่มเป้าหมาย  และพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยประเภทนี้หรือผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ  ผู้วิจัยทำการศึกษาจากผู้ขับขี่รถยนต์ที่ติดตั้งแก๊สระบบ LPG ในเขตกรุงเทพมหานคร   โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง 2 ขั้นแบบมีระบบ   (Two-Stage Systematic Sampling)  จำนวน  384  ราย  ใช้วิธีการทางสถิติคือ   ค่าเฉลี่ย   ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test)   และการทดสอบที  (t-test Statistics)  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ปัจจัยความเป็นเจ้าของรถ และยี่ห้อรถเท่านั้นที่ไม่มีผลต่อการรับรู้ประกันภัยระบบแก๊สรถยนต์   ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อประกันภัยระบบแก๊สรถยนต์ได้แก่  อายุ  ระดับการศึกษา  รายได้เฉลี่ยต่อเดือน  ขนาดเครื่องยนต์  อายุรถยนต์  ระยะเวลาที่ใช้แก๊ส  ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงก่อนติดแก๊ส  ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงหลังติดแก๊ส  ประเภทประกันภัยรถยนต์  และความเสี่ยงเมื่อติดตั้งระบบแก๊สรถยนต์   ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อประกันภัยระบบแก๊สรถยนต์ต่อคือ  ประเภทรถ  ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงหลังติดแก๊ส  และประเภทประกันภัยรถยนต์ เท่านั้น   ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อประกันภัยระบบแก๊สรถยนต์เพิ่มคือ  อายุรถยนต์  ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงก่อนติดแก๊ส  และความเสี่ยงเมื่อติดตั้งระบบแก๊สรถยนต์  

                   และจากผลการศึกษายังพบว่า  กลุ่มตัวอย่างให้ความสนใจทำประกันภัยระบบแก๊สรถยนต์จำนวนมาก และคิดว่าควรประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ ส่วนวิธีการสุ่มตัวอย่างเพื่อให้ผลการวิเคราะห์มีความถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น  ควรเจาะจงกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุรถไม่เกิน 3 ปี เนื่องจากยังได้รับ Warranty จากศูนย์รถยนต์อยู่  ทำให้กลุ่มเป้าหมายชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

 

                    The objective in studying the factors that affect purchasing of auto gas insurance to study the perception of auto gas insurance and factors affect purchasing of auto gas insurance for a basic guideline for casualty insurance company in identifying target groups and in development of this product or other insurance products. The sample in this study is the group of drivers with LPG system installed in Bangkok area totaled 384 drivers by using    Two-Stage Systematic Sampling as a sampling method and analyze data using Mean, Percentage, Standard Deviation, Chi-Square Test and t-test Statistics as statistical methods. The results shown that only car ownership and car brand does not affect perception of auto gas insurance. Factors that affect purchasing of auto gas insurance include age, education, salary, engine size, age of car, period of time since start using gar, fuel costs before using gas, fuel costs after using gas, type of Car Insurance and risks that come with installing LPG system. Factors that affect auto gas insurance renewal are only type of car, fuel costs after use gas and type of Car Insurance. Factor affect purchasing additional auto gas insurance is car age, fuel costs before use gas and risks that come with installing LPG system.  The study finds that many of the drivers interest in auto gas insurance. And there should be more advertising. More accurate results can be obtained by targeting group of cars with age not exceeding 3 years since their Automobile Warranties are still in effect as this makes a more specified target group. 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก. 2557. สถิติรถยนต์ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://apps.dlt.go.th/statistics_web/statistics.html (14 มกราคม 2558).

กรมธุรกิจพลังงาน. 2556. ข้อมูลสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลวทั่วประเทศ. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.doeb.go.th/info/data/datalpg/list_station.xls (3 มีนาคม 2557).

เกรียงศักดิ์ แก้วเล็ก. 2552. การศึกษาความต้องการใช้ก๊าซเอ็นจีวี (NGV) แทนน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทั่วไป สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2553. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัท ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซีฟ จำกัด.

บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน). 2558. สถิติการปรับราคาขายปลีกน้ำมัน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.pt.co.th/intranet/price/saleprice_list2.php (15 กุมภาพันธ์ 2558).

ศุภร เสรีรัตน์. 2545. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.อาร์.บิซิเนส เพรส จำกัด.

สรชัย พิศาลบุตร, เสาวรส ใหญ่สว่าง และปรีชา อัศวเดชานุกร. 2550. การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. 2557. อัตราส่วนค่าสินไหมทดแทนต่อเบี้ยที่ถือเป็นรายได้ของธุรกิจประกันภัย. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.oic.or.th/th/statistics/on-life-inner09.php (14 มกราคม 2558).

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ. 2543. ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์. วารสารนโยบายพลังงาน (ปีที่ 17 ฉบับที่ 49 หน้า 98-105). สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ.

สุเมธ สมภักดี. 2550. ทฤษฎีการเลือกตัวอย่าง (Sampling Theory). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประกายพรึก.

Best, J.W., and Kahn J.V. 1993. Research in Education. 7th Ed. Boston: Allyn and Bacon.

Cochran, W.G. 1963. Sampling Techniques. 2nd Ed. New York: John Wiley and Sons, Inc.

Yamane,Taro.1973. Statistics, An Introductory Analysis.3rdEd. New York: Harper and Row