กระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของอุตสาหกรรมถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย

Main Article Content

วันวิสา จงรักษ์
เนตร์พัณณา ยาวิราช

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1) กระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรมข้ามชาติและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย  2) ความสัมพันธ์ของกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรมข้ามชาติ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย  3) อิทธิพลของกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรมข้ามชาติ ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย

            ประชากรในการวิจัยคือ พนักงานที่ปฏิบัติงานและผู้บริหารในบริษัทที่อยู่ในธุรกิจถ่านหินในประเทศอินโดนีเซียที่มีการร่วมทุนกับบริษัทจากประเทศไทย โดยมีบริษัทที่เข้าร่วมจำนวน 8 บริษัท มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

            ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์ทางบวกและมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และวัฒนธรรมข้ามชาติมีความสัมพันธ์ทางลบกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและมีอิทธิพลกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 และโมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

 

              This research aimed to study 1) the management of human resources cross-cultural and efficient operations in the coal industry in Indonesia, 2) relationship of human resources management processes, cross-cultural and work efficiency of the coal industry in Indonesia, 3) the effect of human resources management processes, cross-cultural to work efficiency of the coal industry in Indonesia.

              The study population was operational and management staff of in the coal business in Indonesia, which had joint ventures with companies from Thailand. There were 8 participating companies and 105 respondents. The research instrument was the questionnaire and assessment form while statistics used for data analysis included confirmatory factor analysis (CFA) and Structural Equation Modeling (SEM).  

               The results showed that the human resources correlated positively and influenced on the work efficiency. And cross-cultural correlated negatively with the work efficiency and influence the work performance of a significant statistical level. 05 and. 01, and a structural equation model was consistent with empirical

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กองเอเชียตะวันออก 4 กรมเอเชียตะวันออก.(2555). สาธารณรัฐอินโดนีเซีย. 13 มีนาคม 2557. http://kromchol.rid.go.th/ffd/internation/Thai/asean%20thai/Indonesia%20TH.pdf

เติมพงศ์ สุนทโรทก. (2544). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา

นิสิต มโนตั้งวรพันธ์. (2553). วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก. 20 เมษายน 2557. http://www.bu. ac.th/knowledgecenter/executive_journal/july_sep_10/pdf/aw3.pdf

ผลิน ภู่จรูญ. (2540) การจัดการข้ามวัฒนธรรม Cross-cultural management. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พยอม วงศ์สารศรี. (2538). การบริหารทรัพยากรบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พรานนกการพิมพ์.

สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ : หลักการและแนวคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เวิลด์เทรด ประเทศไทย.

Dodi Wirawan Iraeanto. (2009) An Analysis Of National Culture And Leadership Practices In Indonesia. (Journal of Diversity Management – Second Quarter 2009 Volume 4, Number 2 (2009) p.41-48)

Ming-Yi Wu. (2006) Hofstede’s Coltural Dimentions 30 Years Later: A Study of Taiwan and United States (Intercultural Communication Studies XV: 1 Western Illinois University p.33-42).

Richard E. Elmore 1993 “Organization Models of Social program Implementation” The Policy Process : A Reader. Edited by Michael Hill. New York : Harvester Wheatsheaf.