สภาพปัญหาการสร้างกฎเกณฑ์การให้คะแนนเพื่อประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการในระดับประถมศึกษา

Main Article Content

กันต์ฤทัย คลังพหล
วัสส์พร จิโรจพันธุ์
ณัฐวัตร สุดจินดา

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการสร้างกฎเกณฑ์การให้คะแนนเพื่อประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการในระดับประถมศึกษาประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา  จังหวัดปทุมธานี ปราจีนบุรี และสระแก้ว จำนวน 3,082 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวนเท่ากับ 342 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัยที่ใช้ เป็นแบบสอบถามปลายเปิดที่สอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ ระดับประถมศึกษา ผู้วิจัยจึงใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ส่วนข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์โดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ

            ผลการวิจัย พบว่า ครูมีการบูรณาการสอนค่านิยมหลัก 12 ประการ ร่วมกับการการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา หน้าที่พลเมือง ความเป็นไทยในระบอบประชาธิปไตย สุขศึกษา พลศึกษา เศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการจัดกิจกรรมร่วมกับการเรียนการสอนในห้องเรียน แต่ปัญหาที่พบ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่มีรูปแบบการสอนที่ชัดเจน ครูไม่มีความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์กฎเกณฑ์การให้คะแนนเพื่อประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ  การวัดและการประเมินค่านิยมบางประการยากต่อการวัดและประเมินผลและยังไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่ใช้แต่แบบสังเกต 

 

 

             The objective of this research was to examine problems of creating scoring rubrics for twelve core value assessment in primary school level. A sample of 342 teachers were selected from 3,082 primary school teachers working under the Office of Basic Education Commission of Thailand, primary level from Pathumthaini, Pracheenburi and Sra Kaew provinces, using stratified sampling method. The instruments used were open-ended questionnaires asking about states and problems of evaluating twelve core value in primary school level. The Content Analysis was used for data analysis. For general information, the descriptive statistics were used to analyze frequency and percentage.

               The finding indicated that teachers integrated the teaching of twelve core values within social studies, religion, civics, Thai democracy studies, health and physical education and sufficiency economy subject. The results of the study showed as follows: (1) there was no exact pattern of teaching (2) teachers lacked of understandings in assessing the twelve core values (3) Some core values were difficult to assess, and (4) the assessment was not varied, mostly used observation form.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ).

กฤติยา วงศ์ก้อม. (2547). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตรียา ไชยศรีพรหม. (2553).แนวทางการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ ในระดับสถานศึกษาภาคบังคับ. ในโอกาสครบรอบ 38 ปี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2556. จาก http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpI VXdOVEk1

ชนันท์ เกียรติสิริสาสน์. (2549). การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณิชิรา ชาติกุล. (2552). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนสังคมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจวรรณ จรุงกลิ่น. (2547). การศึกษาความคิดเห็นและการปฏิบัติจริงในการประเมินผล

การเรียนศิลปศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.ภาควิชาศิลปะดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรศรี พัวพิมลศิริ. (2550). การศึกษาความรู้และปัญหาการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พ.ศ. 2544 ของครูระดับประถมศึกษาโรงเรียนเอกชนเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1.

วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรทิพย์ ไชยโสและคณะ. (2556). การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้าน

การประเมินการเรียนรู้ของนิสิตครู.วารสารวิจัยการศึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ปีที่ 1

ฉบับที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

พัชรี จันทร์เพ็งและสำรวน ชินจันทึก (2553).การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูคณิตศาสตร์ด้านการวัดผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารการวิจัยสังคมศาสตร์ ประมวลบทความวิจัยคัดสรรและบทความวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2554 ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรีวรรณ สมเชื้อ. (2549). การวิเคราะห์กระบวนการประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์: การวิจัยพหุกรณีศึกษาของครูต้นแบบและการวิจัยเชิงปริมาณ.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พินดา วราสุนันท์. (2557,มกราคม – มิถุนายน).การประเมินความต้องการจำเป็นด้านความสามารถทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู.วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 14, ฉบับที่ 1, มกราคม - มิถุนายน 2014, หน้า 27-37.

ไพศาล คงภิรมย์ชื่น. (2547). การศึกษาสภาพการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้น

พื้นฐานพุทธศักราช 2544 ของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ฉะเชิงเทรา.สารนิพนธ์ศึกษา

ศรัญญา รณศิริ. (2550). การวิเคราะห์สภาพการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายใน 8

กลุ่มสาระการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา

คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ ปาเฮ.(2553).รายงานการประชุมการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ยุคปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง.

เรื่อง การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552–2561) ของครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2.

วันที่ 28 – 29 ธันวาคม 2553. แพร่ฯ: สำนักงาน.ถ่ายเอกสาร.

______.(2555). การศึกษาไทยกับประชาคมอาเซียน: ศักยภาพและความพร้อมเชิงระบบ.

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.flipbooksoft.com/upload/books/02-2012/

สุวิมล ว่องวาณิช.(2550).การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน = Classroom action research. (พิมพ์ครั้งที่ 15).

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2550). กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เล่ม 2. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว.

_____. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561).กรุงเทพฯ :พริกหวานกราฟิก.

American Federal of Teachers, National Council on Measurement in Education andNational Education Association.(1990). Standards for Teacher Competence in Educational Assessment of Students.Washinton, DC: Author.

Zottmann, J., Goeze, A., Fischer, F. & Schrader, J. (2010, August / September). Facilitating the Analytical Competency of Pre-Service Teachers with Digital Video Cases: Effects of Hyperlinks to Conceptual Knowledge and Multiple Perspectives. Paper presented at the EARLI SIG 6&7 Conference 2010. Ulm, Germany.