ผลการฝึกอบรมภาวะผู้นำตนเองของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Main Article Content

เพชรสุดา ภูมิพันธุ์
พนิตนันท์ อุดมทรัพย์
วิวรรณ กาญจนวจี

Abstract

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาชุดฝึกภาวะผู้นำตนเองของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา   2. หาประสิทธิภาพของชุดฝึกภาวะผู้นำตนเองของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  3. เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดฝึกภาวะผู้นำตนเองของนักศึกษาในระยะสั้น (วัดผลหลังอบรมทันที)   4. ศึกษาผลการใช้ชุดฝึกภาวะผู้นำตนเองของนักศึกษาในระยะยาว  (วัดผลหลังทดลอง 3 เดือน) และ 5. ศึกษาความคงทนหลังใช้ชุดฝึกภาวะผู้นำตนเองของนักศึกษาในระยะสั้น (วัดผลหลังทดลองทันที) กับระยะยาว (วัดผลหลังทดลอง 3 เดือน)  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาภาคปกติ สาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557  ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งเป็นหมู่เรียนที่คณะผู้วิจัยรับผิดชอบในการสอน มีจำนวน 276  คน  สุ่มนักศึกษาเข้ากลุ่มทดลอง 3 กลุ่มและกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม โดยการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่ม (Simple Random Assignment)  แบบแผนการวิจัย (Research Design) ได้แก่ Randomized Posttest Only Control Group Design  มีการวัดผลหลังทดลอง 2 ครั้ง คือ วัดระยะสั้น (วัดผลหลังทดลองทันที)  และวัดระยะยาว  (วัดผลหลังทดลอง 3 เดือน)  นวัตกรรมที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกภาวะผู้นำตนเอง จำนวน 7 เล่ม คู่มือสำหรับอาจารย์ จำนวน 1 เล่ม โดยคณะผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้น เครื่องมือ ได้แก่ แบบวัดภาวะผู้นำตนเอง จำนวน  4 แบบวัด โดยคณะผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้น 3 แบบวัด ส่วนแบบวัดพฤติกรรมภาวะผู้นำตนเองของข้าพเจ้าขออนุญาตใช้จาก Jeffery D. Houghton และ Christopher P. Neck   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  สถิติข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติเพื่อเปรียบเทียบ ได้แก่ t-test  

                ผลการวิจัยพบว่า 1. ได้ชุดฝึกอบรมภาวะผู้นำตนเอง จำนวน 7 เล่ม 8 กิจกรรม  2.  ประสิทธิภาพของชุดฝึกภาวะผู้นำตนเองในการทดลองครั้งที่ 1 ทดลองรายบุคคล เท่ากับ  81.60/81.43,  การทดลองครั้งที่ 2  ทดลองกลุ่มเล็ก  เท่ากับ  86.08/86.57  และ ทดลองครั้งที่ 3 ทดลองภาคสนาม เท่ากับ  81.64/82.44   3. ผลการใช้ชุดฝึกภาวะผู้นำตนเองของนักศึกษาในระยะสั้น (วัดผลหลังอบรมทันที) พบว่า กลุ่มที่ 1 ฝึกจิตลักษณะและภาวะผู้นำตนเอง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 กลุ่มที่ 2 ฝึกจิตลักษณะแบบบูรณาการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.7  กลุ่มที่ 3 ฝึกภาวะผู้นำตนเอง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.7 และ กลุ่มที่ 4 ไม่ได้รับการฝึก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66   4. ผลการใช้   ชุดฝึกภาวะผู้นำตนเองของนักศึกษาในระยะยาว  (วัดผลหลังทดลอง 3 เดือน)  พบว่า  กลุ่มที่ 1 ฝึกจิตลักษณะและ

ภาวะผู้นำตนเอง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 กลุ่มที่ 2 ฝึกจิตลักษณะแบบบูรณาการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72  กลุ่มที่ 3 ฝึกภาวะผู้นำตนเองค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 และ กลุ่มที่ 4 ไม่ได้รับการฝึก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70    และ 5) ความคงทนหลังใช้ชุดฝึกภาวะผู้นำตนเองของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาในระยะสั้น (วัดผลหลังอบรมทันที) กับระยะยาว (วัดผลหลังทดลอง 3 เดือน) ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยคะแนนเฉลี่ยของภาวะผู้นำตนเองวัดระยะยาว (วัดผลหลังทดลอง 3 เดือน) มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระยะสั้น (วัดผลหลังทดลองทันที) ใน กลุ่มที่ 2  นักศึกษาฝึกชุดฝึกจิตลักษณะบูรณาการเพียงชุดเดียว กลุ่มที่ 3 นักศึกษาฝึกชุดฝึกภาวะผู้นำตนเองเพียงชุดเดียว และกลุ่มที่ 4 นักศึกษาที่ไม่ได้รับการฝึก (กลุ่มควบคุม)  มีเพียงกลุ่มที่ 1 นักศึกษาฝึกทั้งชุดฝึกจิตลักษณะแบบบูรณาการและชุดฝึกภาวะผู้นำตนเองที่วัดระยะสั้น (วัดผลหลังทดลองทันที)  มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระยะยาว (วัดผลหลังทดลอง 3 เดือน)  

 

 

             This research aimed : 1. to develop the training package on self-leadership of undergraduate students in education at Nakhon Ratchasima Rajabhat University, 2. to study the efficiency of training package on self-leadership of undergraduate students in education at Nakhon Ratchasima Rajabhat University, 3. to study the achievement of  training package on students’ self-leadership in short- term (post-training evaluation),   4. to study the achievement of  training package on students’ self-leadership in long-term usage (evaluation 3 months after training)  and 5) to study the effective tolerant results after using the training package on self-leadership of undergraduate students in education, both in short-term (post-training evaluation) and long-term usage (evaluation 3 months after training). Samples were obtained by purposive sampling from day program students of bachelor’s degree in education at Nakhon Ratchasima Rajabhat University who were studying in the first semester of 2014 academic year and these were 276 students under instruction of the researchers. The students were sampled into 3 experimental groups and 1 control group by sample random assignment. The research design was in form of Randomized Posttest Only Control Group Design with 2 evaluations: short-term (post-training evaluation) and long-term usage (evaluation 3 months after training). The innovations used in this study were 7 books of the training package on self-leadership and a book of Instructor Manual developed by the researchers. The research tools were 4 self-leadership measurement forms, 3 of them were developed by the researchers and 1 form of self-leadership behavior test was permitted by Jeffery D. Houghton and Christopher P. Neck. Data were analyzed by application software; basic statistics used in this study were mean and standard deviation while t-test for comparative statistic.   

            The results of this study were as follows: 1. 7 books and 8 activities of the training package on self-leadership were used;  2. The efficiency of training package on self-leadership at the first test (One-to-One Testing) was 81.60/81.43, the second test (Small Group Testing) was 81.08/86.57 and the efficiency of training and samples was 81.64/82.44;  3. The achievement of training package on students’ self-leadership in short-term (post-training evaluation) found that the first group trained with psychological characteristics and self-leadership was at the mean of 4.91, the second group trained with integrated psychological characteristics was at the mean of 4.7, the third group trained with self-leadership was at the mean of 4.7 and the fourth group without any trainings was at the mean of 4.66; 4) The achievement of  training package on students’ self-leadership in long-term usage (evaluation 3 months after training) found that the first group trained with psychological characteristics and self-leadership was at the mean of 4.81, the second group trained with integrated psychological characteristics was at the mean of 4.72, the third group trained with self-leadership was at the mean of 4.91 and the fourth group without any trainings was at the mean of 4.70 and;  5) The effective tolerant results after using the training package on self-leadership of undergraduate students in education, both in short-term (post-training evaluation) and long-term usage (evaluation 3 months after training) were not statistically significant different at the .05 level in overall. The mean of self-leadership in long-term usage (evaluation 3 months after training) was higher than the short-term in the second group trained with integrated psychological characteristics only 1 package, the third group trained with self-leadership only 1 package and in the fourth group without any trainings (the control group). The study found that only the first group trained with psychological characteristics and self-leadership in short-term usage (post-training evaluation) had its higher mean than in long-term usage (evaluation 3 months after training).

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2552). ภาวะผู้นำสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทธีรสาส์น พับลิชเชอร์ จำกัด.

กุญชรี ค้าขาย. (2542). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

ประยุทธ ไทยธานี. (2555). จิตวิทยาการเรียนรู้ของมนุษย์. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2545). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและปฏิบัติ. เชียงราย : คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏเชียงราย.

สุพัตรา กองทรัพย์. (2549). การพัฒนาชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมแบบเน้นงานปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยอุตรดิตถ์.

สุวิทย์ มูลคำ และ สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). การพัฒนาผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2538). หน่วยที่ 3 ภาวะผู้นำ ประมวลสาระชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ มหาบัณฑิตบริหารการศึกษา หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Barlow Christopher M. (2000). Guilford's Structure of the Intellect. [Online]. Available : http://www.cocreativity.com/handouts/guilford.pdf [3 April 2016].

Houghton, Jeffery D. Christopher P. Neck and Charles C. Manz. (2003). “Self-Leadership and Superleadership : The Heart and Art of creating shared leadership in teams.” In Pearce, Craig L. and Jay A. Conger, eds. Shared leadership : Reframing the hows and whys of leadership. pp. 123-138. Thousand Oaks, Calif. : Sage.

Jeffery D. Houghton and Christopher P. Neck. (2002, July). “The revised self-leadership questionnaire Testing a hierarchical factor structure for self-leadership.” Journal of Managerial Psychology. 17(8) : 672-691.

McFarland, Dalton E. (1979). Management : Foundations and Practices. 5th ed. New York : Macmillan.

Pawling, Kimberly Ann. (2010). Integrating universal design for learning concepts into secondary general education instructional methods courses. [Online]. Available : http://www.students.graduate.ucf.edu/calendar/index.cfm?eventID=1446 [2013, June 15].