การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

นงลักษณ์ พวงมาลัย

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จังหวัดฉะเชิงเทรา 2. พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จังหวัดฉะเชิงเทรา ขั้นตอนการวิจัยคือ ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ดังนี้ 1. การสำรวจสภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จากประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 4 ตำบล รวมทั้งสิ้น 47,310 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครซี่และมอร์แกน (จำนวน 381คน) โดยวิธีการสุ่มเป็นระบบตามเลขที่บ้าน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 2. วิเคราะห์จากเอกสารการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นที่ดี ได้โดยเลือกแบบเจาะจงเฉพาะจำนวน 13 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น โดยนำผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 และศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาร่างรูปแบบ และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้ให้บริการและผู้รับบริการในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกเอกสารและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

              ผลการวิจัยพบว่า

            1. ผลการศึกษาสภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จังหวัดฉะเชิงเทรามีผลการวิจัยได้ดังนี้ 1) ผลการสำรวจการรับรู้ เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ข่าวประชาสัมพันธ์ และการบริหารจัดการ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นที่ สปสช.กำหนด พบว่า ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ในระดับน้อยทุกรายการ 2) ผลการรับรู้การปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น พบว่า ในภาพรวมการรับรู้ต่อการปฏิบัติการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการวิเคราะห์การบริหารจัดการกองทุนสุขภาพท้องถิ่นที่ดี พบว่า 1) ด้านผู้ให้บริการและผู้รับบริการของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น มีจำนวน 2 แห่ง 2) ด้านกระบวนงานตามกิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จำนวน 3 แห่งและ 3)ด้านผลที่เกิดจากการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน จำนวน 12 แห่ง

              2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ประกอบด้วย ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ  2) กระบวนงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ประกอบด้วย ระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการและการเข้าถึงตามชุดสิทธิประโยชน์ของผู้รับบริการ และ 3) ปัจจัยสนับสนุน ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชนผู้รับผิดชอบและกิจกรรมเชิงรุก

              3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และการมีประโยชน์ อยู่ในระดับมาก

 

 

                 The objectives of this research were: 1) to explore the current management of Local Health Security Fund (LHSF) in Chachoengsao province; 2) to develop a management model for LHSF in Chachoengsao province; and 3) to evaluate the developed model for LHSF in Chachoengsao province.  The study consisted of four phases. In the first phase, the current management of LHSC in Chachoengsao province was explored. The sample of 400 subjects was selected  system randomly  by home numbers from the population of 47,310 and a questionnaire was administered. And content analysis the document study the best practice on the management of LHSF from the reports of local health organizations. The second phase, a model of LHSF was developed based on the results from the first phases.  In the final phase, the developed model was evaluated by the LHSF service providers and recipients in Chachoengsao  The 15 subjects were selected using purposive sampling technique.  The instruments were focus group discussions and structured interviews.  Content analysis and computer data analysis were conducted.

            The findings were as follows:

             1) The overall image of LHSF in Chachoengsao revealed that the perception in terms of rights and practice was at a low level. Government service, mostly the chairs and vice-chairs of the committee took action  in managing at a high level . And the analysis of fund management at the local health service providers and service recipients 1 Health Insurance Fund of Local 2 of 2 Procedure fund the activities of three local health centers.

             2) The developed model consists of three factors, namely the context of the stakeholders, that is, the service providers and recipients; the working process, that is, policy level, action level and rights access of the service recipients; and supportive factors, that is, participation, person in charge and proactive activities.

             3) The evaluation of the developed model indicated a high level of appropriateness, correctness, possibility and applicability.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

จำรัส ประสิว. (2552).กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น: การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ กรณีศึกษาจังหวัดสระบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชาญชัย ชัยสว่าง.(2552).การพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น.

วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2550). การวิจัยนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น. กรุงเทพฯ:พี เอ.ลีฟวิ่ง.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และคณะ.(2552). การวิจัยประเมินกองทุนสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นงลักษณ์ แสงสว่าง. (2553).การพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางลูกเสือ

อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยะนุช เนื้ออ่อน. (2552).ปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น.

วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ภูดิท เตชาติวัฒน์. (2555).ประสิทธิผลของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ที่ใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์. พิษณุโลก: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รัชนีสรรเสริญ. (2551). คุณภาพการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในชุมชนบทเรียนรู้จากไทย.

วารสารการพยาบาลและการศึกษา ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2553.

รุ่งเรือง แสนโกษา. (2556). รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในเครือเขตบริการสุขภาพที่ 7 กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2557:156-168.

วาสนา ปินตา. (2549).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง:กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านในเขตอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.(2549). คู่มือระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่(กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น).(พิมพ์ครั้งที่2). สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ:กระทรวงสาธารณสุข.

สุเมธ แก่นมณี.(2550).การวิจัยประเมินผลกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่.ขอนแก่น: ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.(2550). คู่มือระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่.กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.

________. (2554). รายงานฉบับสมบูรณ์การศึกษาผลของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลต่อการเสริมพลังอำนาจขององค์กรปกครองสาวนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน.

สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.). กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. (2550). โครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลพื้นที่นำร่อง.

หนองคาย: งานประกันสุขภาพ.

อุดม ตรีอินทอง. (2552). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างพลังการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในเขตตำบลดอนตูม จังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อวยพร พิศเพ็ง. (2553). ผลของการประยุกต์การจัดการอย่างมีส่วนร่วมร่วมกับแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ : กรณีศึกษาตำบลเมืองแก อำเภอท่าตูมจังหวัดสุรินทร์.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970).Determining sample size for research activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.