คุณลักษณะบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารที่พึงประสงค์ของนายจ้าง

Main Article Content

หรรษา เวียงวะลัย
วรรณิภา พาณิชกรกุล
วัฒนี บุญวิทยา
นันท์ปภัทร์ ทองคำ
สุภณิดา พัฒธร
อัณนภา สุขลิ้ม

Abstract

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาให้ทราบถึงคุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารที่พึงประสงค์ของนายจ้างหรือสถานประกอบการ ความต้องการบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารของสถานประกอบการ ความรู้ความสามารถในเชิงวิชาการด้านสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารของบัณฑิต และปัจจัยที่สถานประกอบการใช้ในการพิจารณาคัดเลือกบัณฑิตเข้าทำงาน  ศึกษาโดยการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามส่งไปยังนายจ้างหรือสถานประกอบการ 5 กลุ่มได้แก่ หน่วยงานราชการ หน่วยงานในกำกับของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน และโรงงานอุตสาหกรรม ในเขต 5 จังหวัดได้แก่ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี สระบุรี และปราจีนบุรี

            ผลปรากฏว่าจากแบบสอบถามทั้งหมดจำนวน 130 ฉบับ ได้รับการตอบกลับมาจำนวน 70 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 53.84 โดยสถานประกอบการมีความต้องการบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารร้อยละ 92.86 โดยแผนก/หน่วยงานที่ต้องการรับบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมากที่สุดคือ แผนกประกัน/ควบคุมคุณภาพ ตามมาด้วยแผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แผนกผลิต แผนกจัดซื้อวัตถุดิบ แผนกนักโภชนาการ โดยคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาตินั้นสถานประกอบการต้องการด้านคุณธรรมและจริยธรรม และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบมากที่สุด และด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับมาก

            ในด้านความรู้สถานประกอบการที่พึงประสงค์ให้บัณฑิตมีองค์ความรู้ในสาขาวิชาทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานมากที่สุด โดยพบว่าคาดหวังให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในด้านระบบมาตรฐานและคุณภาพโรงงานอุตสาหกรรมอาหารเป็นลำดับแรก ตามด้วยการประกันคุณภาพและสุขาภิบาลอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร วิศวกรรมอาหารและแปรรูปอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหาร และเคมีอาหาร ตามลำดับ โดยปัจจัยหลักที่สถานประกอบการใช้ในการพิจารณาคัดเลือกบัณฑิตเข้าทำงานนั้นคือ บัณฑิตที่สำเร็จตรงตามสาขาที่หน่วยงานต้องการ 

 

            The objectives of this research were to investigate qualifications preferred by prospective employers for food science and technology graduates, employers’ need for food science and technology graduates, expected graduates’ academic competency, and criteria that employers used to recruit food science and technology graduates.  The study was conducted by distributing questionnaires to 5 major groups of food science and technology employers as follows: government agencies, government-controlled agencies, state enterprises, private sectors, and food processing plants in 5 provinces which are Pathumthani, Phra Nakorn Sriayutthaya, Nonthaburi, Saraburi and Prachinburi.

            Results showed that 70 out of 130 (53.85%) completely answered questionnaires were collected.  92.86% of employers expressed needs for food science and technology graduates to be working in the following departments: quality assurance/quality control, product research and development, production, purchasing, and nutrition department.  Employers highly preferred that graduates should possess qualifications according to Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF: HEd) which are listed as ethics and morals and interpersonal skills and able to work as a team leader and a team member.  Employers also preferred graduates equipped with knowledge, cognitive skills and numerical analysis, communication and information technology skills.

            For knowledge qualification, employers highly preferred that graduates properly have knowledge and be able to apply under working circumstances, specifically knowledge about quality systems and food processing quality, quality assurance and food sanitation, food engineering and food processing, food microbiology, and food chemistry respectively.  Employers’ criteria for recruiting food science and technology graduates mainly focused on how well graduates’ degree matches with employers’ requirements. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

หรรษา เวียงวะลัย

หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

วรรณิภา พาณิชกรกุล

หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

วัฒนี บุญวิทยา

หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

นันท์ปภัทร์ ทองคำ

หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

สุภณิดา พัฒธร

หลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

อัณนภา สุขลิ้ม

หลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

References

กระทรวงอุตสาหกรรม, 2552. แผนแม่บทอุตสาหกรรมอาหารพ.ศ. 2553-2557. กระทรวงอุตสาหกรรม.

เกศรินทร์ เพ็ชรรัตน์ และคณะ, 2554. คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ปริศนา สุวรรณาราม; อนุวัฒน์ แจ้งชัด และ พิสิฏฐ์ ธรรมวิถี, 2553. รายงานการวิจัยการศึกษาแนวทางการผลิตกำลังคนตามความต้องการของประเทศ : กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรุงเทพฯ.

พร พรมมหาราช; ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี และ ภควรรณ พวงสมบัติ, มปป. ความต้องการบัณฑิตวิทยาศาสตร์ ในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

http://www1.science.cmu.ac.th/Regisoffice/re_porn48.rtf (21 พฤศจิกายน 2553).