ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูต่อสุขภาพองค์การโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5

Main Article Content

รัตติยา จันทร์หอม

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูต่อสุขภาพองค์การโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูต่อสุขภาพองค์การโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 เมื่อจำแนกตาม ตำแหน่ง เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.938 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ภายหลัง โดยใช้สูตรของเชฟเฟ่

              ผลการวิจัยพบว่า

              1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูต่อสุขภาพองค์การโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการกำหนดเป้าหมาย ด้านการส่งเสริมการจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนการสอน ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านบูรณาภาพของสถาบัน ด้านภาวะผู้นำ ด้านผู้นำทางวิชาการ และด้านขวัญในการปฏิบัติงาน

            2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูต่อสุขภาพองค์การโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จำแนกตามตำแหน่ง เพศ และวุฒิการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามอายุ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน

 

            The purposes of this research is to 1) Study the opinion of school administrators and teachers to organizational health in secondary school under secondary educational service area office 5 and 2) Compare the opinion of school administrators and teachers to organizational health in secondary school under secondary educational service area office 5 divided by position, sex, age, working experience, educational background and size of school. The sample group used in this research ; school administrators and teachers under secondary educational service area office 5 in academic year 2014, 354 persons. The instrument was the questionnaire that was constructed by the researcher with the reliability of (.938). The data were analyzed by using percent, mean, standard deviation and t-test, one-way analysis of variance, The comparison pair mean that later by using formula Scheffe.

            The findings were as follows :

            1. The opinion of school administrators and teachers to organizational health in secondary school under secondary educational service area office 5 in total profile were rated at a high level by arranging high mean to low mean ; target define factor, learning support activity arrange promote factor, communication factor, integrated image of the institution factor, leadership factor, academic leadership factor and moral in working performance factor.

            2. Compare the opinion of school administrators and teachers to organizational health in secondary school under secondary educational service area office 5 divided by position, sex and educational background were different by statistical significant at .05 and when divided by age, working experience and size of school not different.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

รัตติยา จันทร์หอม

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี

References

กาญจนา ชูรอด. (2555). ได้ศึกษาสุขภาพองค์การของโรงเรียนในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

กุหลาบ เกิดหลำ. (2556). ได้ศึกษาสุขภาพองค์การของโรงเรียนชลราษฏรอำรุง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

พจนีย์ ประชุมวงศ์. (2555). ได้ศึกษาสุขภาพของโรงเรียน อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เพ็ชร รองรัตน์. (2552). ได้ศึกษาเรื่อง สุขภาพองค์การของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริพงศ์ พงษ์ดี. (2553). ได้ศึกษาสุขภาพองค์การของโรงเรียนเบญจมานุสรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. (2557). ข้อมูลประชากร. สิงห์บุรี : ผู้แต่ง.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2549). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สุขฤทัย ขอพรกลาง. (2556). ได้ศึกษา สุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิมล จันทร์แดง. (2552). ได้ศึกษาสุขภาพองค์การของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

อารยา ทริตสังข์. (2554). ได้ศึกษา สุขภาพองค์การของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ กลุ่ม 2 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.