ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนเกษตรไทย

Main Article Content

ปุณณดา มาสวัสดิ์
ประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์
อิสริยา นิติทัณฑ์ประภาศ บุญญะศิริ

Abstract

               บทความนี้ศึกษาภาวะความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนเกษตร โดยเปรียบเทียบปริมาณพลังงานที่ได้รับจากการบริโภคอาหารของครัวเรือนเกษตรกับเส้นความมั่นคงด้านอาหาร วัดสัดส่วนครัวเรือนที่มีความไม่มั่นคงด้านอาหาร ช่องว่างความไม่มั่นคงด้านอาหาร และความรุนแรงของปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร ตามภูมิภาคที่ตั้งของครัวเรือน ระดับรายได้ และกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร รวมถึงการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงด้านอาหารด้วยสมการถดถอย Logistic Regression โดยใช้ข้อมูลตัวอย่าง 12,446 ครัวเรือน ผลการศึกษา พบว่า ครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงด้านอาหารมากที่สุด การเพิ่มระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน การมีหัวหน้าครัวเรือนเพศหญิง การมีปริมาณข้าวที่เก็บไว้บริโภค การได้รับการช่วยเหลือทางการเกษตร การเพิ่มขึ้นของรายได้ทั้งที่เป็นรายภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร และการทำการเกษตรผสมผสาน จะมีผลให้ความมั่นคงด้านอาหารเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้าม การเพิ่มขึ้นของจำนวนหนี้สิน และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน มีผลทำให้ความมั่นคงด้านอาหารลดลง การขยายโอกาสทางการศึกษา การส่งเสริมกิจกรรมนอกฟาร์มควบคู่กับกิจกรรมภายในฟาร์ม การช่วยเหลือกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร การส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสาน และการดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร จะช่วยลดความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงด้านอาหาร

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ปุณณดา มาสวัสดิ์

สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ

ประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์

ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ

อิสริยา นิติทัณฑ์ประภาศ บุญญะศิริ

ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร

References

นวลน้อย ตรีรัตน์. (2551). ความมั่นคงทางอาหาร, 18 สิงหาคม 2556. http://www.nidambell.net.

ปิยะนาถ อิ่มดี. (2547). ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชนบท: ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านป่าค่า หมู่ที่ 2 ตำบลสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์. (2555). แนวคิดและคำนิยามของความมั่นคงทางอาหาร, 18 สิงหาคม 2556. http://www.polsci.tu.ac.th/fileupload/36/24.pdf.

ศจินทร์ ประชาสันติ์. (2552). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร, 21 สิงหาคม 2556.

http://www.nationalhealth.or.th/index.php?option=com_docman&task=doc_download&gid=138.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). รายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศปี พ.ศ.แรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11, 27 กันยายน 2556. http://www.isranews.org/thaireform-other-news/download/365/23850/18.html.

R.O. Babatunde, O.A. Omotesho, O.S. Sholotan. (2007). Factors Influencing Food Security of Rural Farming Household in North Central Nigeria, September 10, 2013. http://unilorin.edu.ng/publications/Babatunde/ No%203% 20factor%20influencing% 20food%20security.pdf.

FAO. (2011). Rome Declaration on World Food Security and World Food Summit Plan of Action. World Food Summit, 1996, September 10, 2013. http://www.fao.org/wfs.

Maxwell, S. and T. R. Frankenberger. (1992). Household Food Security : Concepts, Indicators, and Measurements : Technical Review United Nations Children’s Fund (Unicef) and International fund for Agricultural Development (IFAD), September 16, 2013. http://www.ifad.org /gender/tools/hfs/hfspub/hfs_3.pdf.

Ojha, P. R. (1999). Determinants of household food security under subsistence agriculture in the mid hills of Eastern Nepal, September 16, 2013. http://lib.icimod.org/ record/154/files/338.9OJD.pdf.

Gyawali, S. (2008). Food Security Assessment of Tharu Ethnic Communities in Dang District, Nepal, September 16, 2013. ttp://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2008/agsys0408gs_abs.pdf.

USIAD, (1992). Definition of Food Security, September 16, 2013. http://www.usiad.sov/policy/ads/200/ pdia/pdf.