การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องพี่น้องออมเงิน

Main Article Content

อมีนา ฉายสุวรรณ
ชุมพล จันทร์ฉลอง

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องพี่น้องออมเงิน 2. หาคุณภาพของการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องพี่น้องออมเงิน 3. ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง     พี่น้องออมเงิน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง   ต.บ้านแป้ง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยใช้วิธีจับสลาก  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1. การ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องพี่น้องออมเงิน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2. แบบประเมินคุณภาพของการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องพี่น้องออมเงิน และ 3. แบบประเมินความความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องพี่น้องออมเงิน สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

            ผลการวิจัยพบว่าผลการประเมินคุณภาพการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องพี่น้องออมเงิน ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ในด้านเนื้อหาของการ์ตูน มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ( = 4.44, S.D. = 0.57) ด้านภาพและเสียง มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ( = 4.15, S.D. =0.71) และด้านเทคนิค มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ( = 4.40, S.D. = 0.77) รวมคุณภาพทั้ง 3 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.33 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี ( = 4.33, S.D. = 0.69) ผลการประเมินความความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องพี่น้องออมเงิน มีระดับความพึงพอใจรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับดี ( = 4.26, S.D. = 0.64)

 

           This research have three proposes which 1. to develop of cartoon animation the brother’s savings, 2. To find the quality of Cartoon animation about brother’s savings and 3. to the satisfaction of the interest on Cartoon animation about brother’s savings. The sample in this research. As at the end of primary school education Chaofasang School. Sub. Ban Paeng district Bang Pa-in district. Ayutthaya number 30 people. They were selected by simple random sampling by drawing lottery has a group of students at the end of primary.The tools used in this research include 1. Cartoon animation about brother’s savings. The researchers created” 2. Assessment of quality cartoon animation the brothers savings and 3. Assessments were satisfied with cartoon animation. The statistics used in this study, mean ( ) and standard deviation (S.D.).

            The results showed that the quality cartoon animation. The brothers savings on animation about brother’s savings are evaluated by experts. The content of the cartoon Quality was good, ( = 4.44, S.D. = 0.57) Audiovisual quality was good ( = 4.15, S.D. =0.71) and technical Quality was good ( = 4.40, S.D. = 0.77). The overall quality of the three, with an average total of 4.33 which was good quality ( = 4.33, S.D. = 0.69) Assessment of the satisfaction of the sample with a cartoon animation. The brothers savings Are satisfied, including the three at a good level. ( = 4.26, S.D. = 0.64)

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

อมีนา ฉายสุวรรณ

อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี   

ชุมพล จันทร์ฉลอง

อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี  

References

ธงชัย บุญพิเชฐวงศ์. (2553). การออมทรัพย์และการลงทุนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: จากhttp://www.rachinuthit.ac.th/thongchai/pages/k2.html (2559, 5 มกราคม)

ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล (2547). การสร้างภาพยนตร์ 2D อนิเมชั่น (How to make 2D Animation). กรุงเทพฯ : มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ เทคโนโลยี

ประคอง กรรณสูต. (2539). สถิติเพื่อการวิจัยคำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรมาภรณ์ มาเทพ (2551) .การพัฒนาสื่อการ์ตูนมัลติมีเดียสำหรับสอนวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง หลัก กรรม. การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ราชัน สมตาเตะและปิยะศักดิ์ ถีอาสนา (2558). การพัฒนาการ์ตูนแอนิมชัน 3 มิติ เรื่อง เต่าน้อยผู้อดทน. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการนวัตกรรมครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย วันที่ 12-13 พฤษภาคม 2558 [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://chair.rmu.ac.th/fi...ail.com20150716143257.pdf (2559, 10 มกราคม)

ศรีพาวรรณ อินทวงค์ (2551). การพัฒนาสื่อแอนิเมชันเพื่อการรณรงค์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (2558).การออม. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.1213.or.th/th/moneymgt/save/Pages/save.aspx (2559, 10 มกราคม).

สุดารัตน์ วงศ์คำพา (2554). การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่อรณรงค์แก้ปัญหาเด็กอ้วน. วิทยานิพนธ์ วิทยาสาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสื่อนฤมิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.