บทบาทของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ดในการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

รัฐชาติ ทัศนัย
วรเดช จันทรศร

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์จากการบริหารสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ดโดยการวิจัยแบบผสมผสาน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง 390 คน จากประชาชนที่เข้าชมการแข่งขันฟุตบอลที่สนามนิวไอโมบายสเตเดียม จังหวัดบุรีรัมย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน สำหรับวิชัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการค้นคว้าผ่านเอกสาร สื่อออนไลน์ การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  จำนวน 11 ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการบริหารจัดการสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ดมีกระบวนการที่เป็นมืออาชีพโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานสากลเป็นตัววัด มีเจ้าของสโมสรเป็นผู้ควบคุมอย่างใกล้ชิดและเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องต่างๆในขั้นสุดท้าย ผลการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการท่องเที่ยว และด้านสังคม มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยที่มีผลต่อผลของการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ผ่านการบริหารจัดการทีมฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุพบว่า พบว่ามี11 ปัจจัย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R2) เท่ากับ 0.5387  มี 4 ปัจจัยที่ได้คะแนนสูงอย่างมีนัยสำคัญเรียงตามลำดับคือ 1. สิ่งจูงใจของนักฟุตบอลและผู้ชม 2. การสร้างฐานแฟนคลับและผู้สนับสนุนทางการเงิน 3. ผู้บริหารที่มีประสิทธิผล 4. การสื่อสาร และผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่ามีข้อมูลที่สนับสนุนผลการวิจัยเชิงปริมาณ นอกจากนี้การวิจัยนี้ยังค้นพบว่าการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์โดยใช้การบริหารทีมฟุตบอลนั้นจำเป็นต้องใช้แนวคิดและทฤษฎีที่ที่หลากหลายมาผสมผสานในการบริหารจึงจะประสบความสำเร็จ

 

 

                 The objectives of this research were to inquire the development of Buriram Province by the management of Buriram United Football Club conducted by mixed method. The quantitative research had 390 samples derived from audiences who attended football game at Newi-mobile Stadium, the data were analyzed by descriptive and inferential statistics. The qualitative research consisted inquiry of documents, and online media, observations, and in-depth interview with 11 key-informants. The result shown that the management of Buriram United Football Club was professional one that can grasp the international criteria and the owners closely supervised and made final decision about the club. The development of Buriram Province in 3 aspects, that is, Economical, Tourism, and Social, is at the highest level. The multiple regression depicted that there were eleven factors affecting the development of Buriram Province by the management of Buriram United Football Club which had0.5387 of correlation coefficient (R2). Among these, the first four factors in order of their significances were 1. motivators to the football players and the audiences 2. building of fan club and financial supporters 3. effective executives 4. communications. The qualitative research  supported findings from the quantitative research. This research also revealed that the development of Buriram Province by the management of Buriram United Football Club required wide array of concepts and theories in order to succeed. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

รัฐชาติ ทัศนัย

นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยชินวัตร

วรเดช จันทรศร

ศาสตราจารย์ทางรัฐประศาสนศาสตร์

References

วรเดช จันทรศร. 2555. ปรัชญาของการบริหารภาครัฐแนวใหม่ : ทฤษฎี องค์ความรู้ และการปฏิรูป. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บรรณวัฒน ด้วงมั่ง และคณะ. 2555. การส่งเสริมการตลาดของสโมสรฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย. สมาคมการจัดการ กีฬาแห่งประเทศไทย.

อนุพงษ์ แต้ศิลปสาธิต (2555) ทำการวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์การจัดการแบรนด์เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก

ประโยค สุทธิสง่า. 2541. การบริหารเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศของโค้ชฟุตบอล. กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

สงวน จีระไกรโสธร. 2555. การจัดการแนวใหม่สำหรับสโมสรฟุตบอลเพื่อประสบความสำเร็จ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไททัศน์ มาลา. 2556. สัมพันธ์ภาพและการเปลี่ยนแปลงในเชิงอำนาจในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดบุรีรัมย์. สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม

ราชูปถัมภ์

วสันต์ ปัญญาแก้ว และคณะ. 2557. ฟุตบอลไทย ประวัตศาสตร์ อำนาจ การเมือง และความเป็นชาย.

กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

John Beech and Simon Chadwick. 2004. The Business of Sport Management, Edinburgh, England.

Robert N. Lussier and David Kimball. 2014. Applied Sport Management skill. Champaign, IL Human Kinetice