ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของวิทยาเขต สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

ประเสริฐ ปอนถิ่น
ณรงค์ศักดิ์ จันทร์นวล

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของวิทยาเขต      สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2. เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการบริหารงานของวิทยาเขต สังกัดของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด หน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ วิทยาเขต สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 10 วิทยาเขต คือ วิทยาเขต หนองคาย นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี แพร่ สุรินทร์ พะเยา บาฬีศึกษาพุทธโฆส เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มอาจารย์ และกลุ่มนิสิต รวม 662 รูป/คน

            ผลการวิจัยพบว่า

                1. ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของวิทยาเขต มี 5 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล ด้านวัฒนธรรมองค์กรอัจฉริยะ ด้านการบริหารคุณภาพโดยรวม ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร และด้านทรัพยากรการบริหาร ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) พบว่า จากจำนวนปัจจัย 5 ด้าน มีปัจจัย 4 ด้าน ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของวิทยาเขต สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ประกอบด้วย ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล มีอำนาจพยากรณ์มากที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ ปัจจัยด้านทรัพยากรการบริหาร ปัจจัยด้านการบริหารคุณภาพโดยรวม และปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กรอัจฉริยะ ส่วนอีก 1 ปัจจัย คือ ปัจจัย ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ไม่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของวิทยาเขต

                2. แนวทางที่เหมาะสมสำหรับการบริหารงานวิทยาเขต สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  คือ ทุกวิทยาเขต ควรให้ความสำคัญ 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กรอัจฉริยะ และปัจจัยด้านการบริหารคุณภาพโดยรวม        

 

 

               The objectives of this research were (1) to study the factors affecting the Success of Management of Mahachulalongkornrajavidyalaya Campuses; (2) to find out the suitable guidelines for high effectiveness of management of Mahachulalongkornrajavidyalaya Campuses. The Units of Analysis were 10 campuses. The research instrument was a questionnaire using to collect data from 662 respondents consisted of three groups, namely, the administrators, the lecturers, and the students.

               The research results were as follows.

                    1. The expected factors affecting the Success of Management of Campuses were Good Governance, The Intelligent Organizational Culture, the Total Quality Management, Administrator Transformational Leadership, and Management Resources. The results of the Stepwise Multiple Regression Analysis revealed that there were 4 factors out of 5 factors which affected The Success of Management of Mahachulalongkornrajavidyalaya Campuses. These factors consisted of Good Governance which had the highest predicting power, fallowed respectively by The Resource Management, The Total Quality Management and The Intelligent Organizational Culture factors. The two factors which did not affect the Success of Management of Campuses were the Administrator Transformational Leadership and the Management Resources factors.

                     2. The suitable guidelines for high effectiveness of management of Mahachulalongkornrajavidyalaya Campuses were proposed that every campus should pay special attention to three factors, namely, Good Governance, The Intelligent Organizational Culture, and the Total Quality Management.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ประเสริฐ ปอนถิ่น

นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ณรงค์ศักดิ์ จันทร์นวล

อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

References

ปริญญา สัญพึ่ง, (2553). การศึกษาการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วิทยานิพนธ์ (รป.ม. นโยบายสาธารณะ),มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระไพศาล วิสาโล, (2546). พุทธศาสนาในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

พระราชปริยัติ (สฤษดิ์ ประธาตุ), (2549). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เรณู คุปตัษเฐียร และคณะ. (2545), ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

ศิริพัฒน์ ชมพูรัตน์ (2556) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนา.มหาวิทยาลัย นอร์ท-เชียงใหม่.

สุภัทรา เอื้อวงศ์ และคณะ, (2557), รูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชนและวัด ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดศรีสะเกษ, วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุกัญญา โฆวิไลกูล และคณะ, (2550), การพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์ : กรณีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รายงานวิจัย, กรุงเทพมหานคร.

สุรพล สุปินะเจริญ, (2541), การสนับสนุนทรัพยากรการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสกสม นิกรสุข.(2545). การบริหารงานธุรการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. ภาคนิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

อนิวัช แก้วจำนงค์. (2552). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ = Human resource management. สงขลา : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.