การจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์ในเขตภาคกลางของประเทศไทย

Main Article Content

ธันยธร ติณภพ

Abstract

               การศึกษาวิจัยงานนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อสำรวจสภาพและปัญหาของการจัดการห่วงโซ่อุปทานในวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์ในเขตภาคกลาง โดยพิจารณาจากกระบวนการจัดการแบบ SCOR Model 2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทาน กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์ในเขตภาคกลางที่ประสบความสำเร็จ 3.เพื่อเสนอแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์ ในเขตภาคกลาง โดยบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์กระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานกับสภาพการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์ ในเขตภาคกลางของประเทศไทยกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-Depth Interview) กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์ในเขตภาคกลาง จำนวน 3 กลุ่ม จำนวน 15 ท่าน รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการโซ่อุปทาน และปราชญ์ด้านการเกษตร จำนวน 20 ท่าน

                ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการด้านการเกษตรได้อย่างเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ภายใต้พื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นและการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตแล้ว ผู้วิจัยได้ศึกษาพบองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการจัดการห่วงโซ่อุปทานของการผลิตข้าวอินทรีย์ ได้แก่กลุ่มปัจจัย 6 กลุ่มดังนี้ 1.กลุ่มปัจจัย 8 S ได้แก่ Story, System, Skill, Staff, Situation, Standard, Satisfaction, Sustainable  2.กลุ่มปัจจัย 5 P ได้แก่ Product, Packaging, Perception, Publicize, Policy 3.กลุ่มปัจจัย 3 C ได้แก่ Customer, Creditable, Culture 3.กลุ่มปัจจัย 1 N ได้แก่ Network 4.กลุ่มปัจจัย 1 B ได้แก่ Brand 5.กลุ่มปัจจัย 1 M ได้แก่  Management

 

                    The research objective of this work was three fold:  First, to explore the issue of supply chain management in community produce organic rice in the central region. Process management based on SCOR Model. Second, to study the relationship of supply chain management processes with local knowledge Community in rice production in the central region to succeed and Third, Guidelines for the management of the supply chain community enterprise producing organic rice in the central region by integrating with local wisdom,

                    The researchers used a qualitative study by analyze the supply chain management with the implementation of community enterprise producing organic rice in the central region of Thailand and local wisdom and the concept of sufficiency economy by using Qualitative Research with in-depth interviews with a community enterprise producing organic rice in the Central Region of the third group of 15 persons, including experts in supply chain management, agricultural and philosopher of 20 persons.

                    The results showed that Guidelines for the Management of Community rice production can be used to operate in agriculture has a strong and self-reliant under the basis of local wisdom and adoption of the concept of sufficiency economy used in everyday life. The study found that the factors promoting success in managing the supply chain of organic rice production is the six factors include the following: 1. 8 S factors include Story, System, Skill, Staff, Situation, Standard, Satisfaction, Sustainable 2. The 5 P factors include Product, Packaging, Perception, Publicize, Policy 3. 3 C factors include Customer, Creditable, Culture 4. the factors include 1 N Network 5. 1 B factors include Brand 6. factors include: 1 M Management.



Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ธันยธร ติณภพ

หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ  มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก                               

References

กลุ่มงานพัฒนาวิสาหกิจเกษตรชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2549). วิสาหกิจชุมชนหนทางพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน.สืบคืนเมื่อ

กันต์กนิษฐ์ พงศ์กระพันธุ์. (2552). ปัญหาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน. สุราษฏร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี.

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยาและปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2554). ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพียง...สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

บุญดิษฐ์ วรินทร์รักษ์ (2550). รูปแบบการผลิตพืชข้าวหอมมะลิไทยอินทรีย์ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร

ฐาปนา บุญหล้า. คู่มือสัมมนาโลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน. กรุงเทพมหานคร : บริษัทมิสเตอร์ ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด, 2551

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (2550). การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Ahumada, O., & Villalobos, J. R. (2009). Application of planning models in the agri-food supply chain: A review. European journal of Operational research, 196(1), 1-20.

Beamon, B. M., 1999, “Measuring supply chain performance”, Journal of perations & Production Management, Vol. 19, 275-292.

Choprva, sunil, and Peter Meindl, 2001, “Supply Chain Management : Strategy,Planning and Operations”, Upper Saddle River,NJ:Prentice-Hall,Inc.

Palevich, F.R., 1999, Supply chain management, Hospital Material Management Quarterly, Vol. 20 No. 3, pp. 54-63