การให้บริการแบบมืออาชีพของโรงแรมประเภทบูติค ในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ระชานนท์ ทวีผล
ธีระวัฒน์ จันทร์ทึก

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) รูปแบบคุณภาพบริการทั้ง 5 ด้าน และ (2) ปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการโรงแรมประเภทบูติคในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิทยาการศึกษาปรากฏการณ์ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้ประกอบโรงแรมประเภทบูติคจำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) ด้านความเชื่อถือ (Reliability) เป็นการให้ความสำคัญกับการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขาย ที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขในการให้บริการที่ชัดเจน (2) ด้านการการันตี (Assurance) เป็นการยืนยันมาตรฐานการบริการที่ได้รับมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐบาลและเอกชน (3) ด้านสิ่งที่สัมผัสได้ (Tangibles) เป็นการนำเสนอลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพสามารถเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่นให้เกิดความน่าสนใจ เช่น อาคาร สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น (4) ด้านความเอาใจใส่ (Empathy) เป็นความสามารถในการใช้ทักษะด้านปัญญาและอารมณ์ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใช้บริการ (5) ด้านการตอบสนอง (Responsiveness) เป็นการออกแบบมาตรฐานการให้บริการที่มีระยะเวลาเป็นควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการ สำหรับปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบโรงแรมประเภทบูติค ได้แก่ การวางตำแหน่งทางการตลาด การจัดสรรกำลังบุคลากร การเลือกทำเลที่ตั้ง การกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการ และการป้องกันการก่อการร้าย

 

               

This study aims to investigate (1) the patterns of five dimension of service quality and (2) the problems and threats of boutique hotel’s entrepreneur at Cha-Am District, Phetchaburi Province and Hua-Hin District, Prachuap Khiri Khan Provice.This study was a qualitative research using phenomenology methodology. In-depth interview with ten key informants was used for collecting the data. The results were found that (1) Reliability was focused on media relations and activity promotion design which clearly show the details of the service, (2) Assurance  was the confirmation of the service standard provided by relevant agencies from government and private sector, (3) Tangible was the presentation of the characteristics of the physical environment which can be associated with local identity to be interested such as infrastructure, facilities, etc., (4) Empathy is the ability of using the cognitive and emotional skills to establish a good relationship with users and (5) Responsiveness is the service design standard with the time for controlling  employee operation. The research was also found some problems of boutique hotel’s entrepreneur concerning market positioning, staff allocation, the selection of location, patterns of management, and counter terrorism.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ระชานนท์ ทวีผล

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการโรงแรม  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดเพชรบุรี 

ธีระวัฒน์ จันทร์ทึก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ     มหาวิทยาลัยศิลปากร   จังหวัดเพชรบุรี

References

กรมการท่องเที่ยว. (2557). มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย มาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยว (เล่มที่ 1) ประเภทโรงแรม ระดับ 5 ดาว. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ.2558-2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). เกาะติดสถานการณ์ท่องเที่ยว. TAT Review, 2(4): 6-12.

กนิษฐริน จิโนวัฒน์. (2550). คุณภาพบริการของโรงแรมใบไม้สีเขียวในเขตภาคใต้. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. นครศรีธรรมราช.

จารุรัศมิ์ ธนูสิงห์ และ วารัชต์ มัธยมบุรุษ (2555) ศึกษาเรื่อง แนวทางการบริหารจัดการโรงแรมบูติคกรณีศึกษาโรงแรมระรินจินดา เวลเนส สปา รีสอร์ทเชียงใหม่. รายงานสืบเนื่องจากพะเยาวิจัย 1 ปัญหาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน กลุ่มการวิจัยท่องเที่ยวยั่งยืน. วันที่ 12 ธันวาคม 2555.

ฉงจิ่ง หลี่. (2556). คุณภาพการบริการของบริษัทนำเที่ยวประเทศจีนมีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในบริษัทนำเที่ยวและความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย. การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.

ฉัฐชสรณ์ กาญจนศิลานนท์. (2555). แนวทางการพัฒนาบุคลากรในงานโรงแรม : กรณีศึกษาโรงแรมระดับ 3 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 18(4), 1-25.

ชาย โพธิสิตา. (2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์ปริ้นท์ติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด (มหาชน).

ธนสินธิ์ สุขสินธิ์ และคณะ. (2555). ความคาดหวังและแนวทางการแก้ไขปัญหาของผู้ใช้บริการโรงแรมขนาดเล็ก สู่การยกระดับมาตรฐาน. งานวิจัยได้รับทุน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ.

นิตยา พร้าวราม. (2558). แนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน กรณีศึกษา: โรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พริ้นโพร.

นันทนา อินสว่าง, นิภาพร ทรงประสิทธิ์ และระชานนท์ ทวีผล. (2559). จุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จของ “สะพายเป้โฮสเต็ล. รายงานสรุปการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารจัดการ ครั้งที่ 8, 2 กรกฎาคม 2559 ณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ภัทรภร ชัยพุทธนพันธ์ และ ราณี อิสิชัยกุล (2554) ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการประกอบธุรกิจโรงแรมบูติคขนาดเล็ก ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 9(2): 70 – 89.

มธุรส เกนขุนทด, อรนงค์ มัดเหย่ และระชานนท์ ทวีผล. (2559). การศึกษาศักยภาพแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา โรงแรมบูติก เขตพื้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. รายงานสรุปการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารจัดการ ครั้งที่ 8, 2 กรกฎาคม 2559 ณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ระชานนท์ ทวีผล. (2560). แนวคิดการดำเนินธุรกิจของบูติคโฮเทล กรณีศึกษา: บูติคโฮเทลในเขตเทศบาลนครเมืองเชียงใหม่ อำเภอเมืองเขียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1):

วสันต์ กานต์วรรัตน์. (2556). การประเมินคุณภาพการบริการของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าของโรงแรมบูธีค กรณีศึกษาโรงแรมเซี่ยงไฮ้ แมนชั่น. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 15(27): 3-15.

สงกรานต์ จิรายุนนท์ และสุมาส วงศ์สุนพรัตน์. (2557). คุณภาพการบริการ ความพึงพอใจของผู้บริโภค และความภักดีต่อตราสินค้า. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 25(2): 47-55.

หทัยรัตน์ บรรลือ. (2557). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการใช้บริการของธนาคารออมสิน สาขาสวนจิตรลดา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. กรุงเทพฯ.

อภิวัฒน์ จันกัน. (2553). ผลกระทบของคุณภาพการบริการต่อความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าในจังหวัดลำปางกับตราสินค้าธนาคารกรุงไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

Anhar, L. (2001). The Definition of Boutique Hotel. (Online). Retrieved: December 19, 2016, from HVS Website: :http://www.hvs.com. 2001.

Barber, N., and Dealem C. (2014). Tapping mindfulness to shape hotel guests’ sustainable behavior. Cornell Hospitality Quarterly, 55(1), 100 – 44.

Hyounae M, Yumi L, and Vincent P. (2014). Factors Affecting Customer Satisfaction in Responses to Negative Online Hotel Reviews: The Impact of Empathy, Paraphrasing and Speed. Cornell Hospitality Quarterly, 56(2): 223-231.

Ivana, B., Andjelija I., Uglješa S., Igor S., and Milan B. (2011). Research of Expected and Perceived Service Quality in Hotel Management. Journal of Tourism, 11(2011): 5-13.

Lia Zarantonello and Bernd H. Schmit. (2013). The impact of event marketing on brand equity : The mediating roles of brand attitude. International Journal Advertising, 32(2). 255-279.

Maja U. (2010). The Organizational Gap Model for Hotel Management. Managing Global Transitions, 8 (4): 405–422.

Natarajan P. and Thiripurasudari U. (2012). A Study of Inter and Intra Components Relationship of Brand Equality Using SEM. Advances In Management, 5(2). 47-53.

Parasuranman, A., Zetithaml A., and Berry L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implication for Future Research. Journal of Marketing. 49(4): 41-50.

Philip, K. (2000). Marketing Management Analysis Planning Implementation and Control 6th ed. Englewood Cliffs New Jersey: Prentice – Hill, Inc.

Somekh, B. and Lewin, C. (2005). Research Methods in the Social Sciences. Sage Publications: London & Thousand Oaks CA.