การพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานพื้นบ้านและศิลปหัตกรรม

Main Article Content

อัคครัตน์ พูลกระจ่าง
วนิดา ฉินนะโสต

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานพื้นบ้านและศิลปหัตกรรม วิธีการวิจัยใช้รูปแบบวิจัยและพัฒนา เน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาสมรรถนะอาชีพ สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานพื้นบ้านและศิลปหัตกรรม พบว่า บทบาทหลักในอาชีพเลือกทำ 4 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานทอผ้า กลุ่มงานเครื่องจักสาน กลุ่มงานเครื่องปั้นดินเผา และกลุ่มงานเครื่องถม เมื่อวิเคราะห์หน้าที่หลัก พบว่า กลุ่มงานทอผ้า มี 10 หน้าที่ประกอบด้วย ผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคพื้นฐาน ผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคมัดหมี่  ผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคยก  ผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคยกดอก  ผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคยกมุก  ผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคเกาะ/ล้วง  ผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคขิด  ผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคจก  ผลิตผ้าทอด้วยเทคนิคผสมผสาน  และบริหารงานอนุรักษ์งานพื้นบ้านและศิลปหัตถกรรม  กลุ่มงานเครื่องจักสาน มี 3 หน้าที่ประกอบด้วย ผลิตเครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์  ผลิตเครื่องจักสานร่วมสมัย และบริหารงานอนุรักษ์งานพื้นบ้านและศิลปหัตถกรรม กลุ่มงานเครื่องปั้นดินเผา มี 3 หน้าที่ประกอบด้วย ผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิม  ผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบร่วมสมัย และบริหารงานอนุรักษ์งานพื้นบ้านและศิลปหัตถกรรม กลุ่มงานเครื่องถม มี 3 หน้าที่ประกอบด้วย ผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องประดับ  ผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องใช้ และบริหารงานอนุรักษ์งานพื้นบ้านและศิลปหัตถกรรม ในการกำหนดกรอบคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานพื้นบ้านและศิลปหัตถกรรม มีระดับชั้นคุณวุฒิทั้งหมด 7 ชั้น โดยเริ่มจากชั้นที่ 1 ถึง ชั้นที่ 7 มีอาชีพทั้งหมด 15 อาชีพ  การประเมินสมรรถนะของแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในคุณวุฒิวิชาชีพของกลุ่มอาชีพในสาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานพื้นบ้านและศิลปหัตกรรม 4 สาขา จำนวนผู้เข้ารับการประเมินรวมทั้งสิ้น 40 คน  โดยผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดทุกคน 

 

               

             The objective of the research was to develop the national standard and qualifications in conservation of local artefacts and handicrafts. This applied research follows the qualitative methodology. The findings found that the career in conservation of local artefacts and handicrafts can be categorized into 4 units of competence. Those are textile weaving unit; wickerwork unit; ceramics unit; and nielloware unit. Then each unit of competence was analysed using functional analysis and classified into 10 elements of competence as follows. The unit of textile weaving consists of textile production with basis technique; textile production with contemporary technique; textile production with Mudmee technique; textile production with Yok technique; textile production with Yok Dok technique; textile production with Yok Mook technique; textile production with Luong technique; textile production with Jok technique; textile production with multi-technique; and local artefacts and handicrafts conservation management. Next, the unit of competence of wickerwork consists of 3 elements of competence; wickerwork conservative production; wickerwork contemporary production; and wickerwork local artefacts and handicrafts conservation management. The third unit of competence is ceramics consists of 3 elements of competence which are ceramics conservative production; ceramics contemporary production; and ceramics local artefacts and handicrafts conservation management. The last unit of competence is ceramics which comprises of 3 elements of competence; ornament nielloware production; utensils utensil nielloware production; and nielloware local artefacts and handicrafts conservation management. The levels of qualification are ranked into 7 levels from 1 to 7 and included 15 job titles. The competencies evaluation were completed following the competence standard and qualifications in conservation of local artefacts and handicrafts of the 4 units with the number of 40 applicants. The results found that all 40 applicants pass the minimum standard criteria.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

อัคครัตน์ พูลกระจ่าง

สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

วนิดา ฉินนะโสต

สาขาวิชาเครื่องปั้นดินเผา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 

References

ชนะ กสิภาร์. หลักสูตรฐานสมรรถนะ. (2552). เอกสารประกอบการสอนหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2555).ประกาศลักษณะเงื่อนไขและขอบเขตการดำเนินงาน โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพกลาง.

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2557). แนวคิดเรื่องสมรรถนะ Competency: เรื่องเก่าที่เรายังหลงทาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.