การศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค ปัจจัยความสำเร็จ และปัจจัยเสี่ยง ในการจัดการเรียนรวมโรงเรียนขนาดเล็ก

Main Article Content

อำนาจ จันทรขำ

Abstract

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินงานการจัดการเรียนรวมโรงเรียนขนาดเล็ก 2) ปัญหา อุปสรรค ปัจจัยความสำเร็จ และปัจจัยเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการจัดการเรียนรวมโรงเรียนขนาดเล็ก 3) ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการเรียนรวมโรงเรียนขนาดเล็ก งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกพื้นที่ศึกษาโดยวิธีการเลือกเชิงทฤษฎีที่มีลักษณะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และคำถามการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ 1) กลุ่มบุคลากรระดับเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการเรียนรวม ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน และศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1 รวมผู้ให้ข้อมูล 6 คน 2) กลุ่มของบุคลากรระดับโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน อดีตผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรวม หรือเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการจัดการเรียนรวม ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนโรงเรียนพยุหะศึกษาคาร โรงเรียนบ้านย่านมัทรี และโรงเรียนบ้านประดู่เฒ่า รวมผู้ให้ข้อมูล 16 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล 4 วิธีการหลัก คือ 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก 3) การสนทนากลุ่มย่อย ร่วมกับการสังเกตโดยมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม 4) การสนทนากลุ่มกับกลุ่มบุคลากรที่ไม่ใช่ตัวอย่างและไม่เป็นทางการ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการตรวจสอบและตีความข้อมูลตลอดเวลา ขณะที่ปฏิบัติการภาคสนาม มีการจัดทำบันทึกภาคสนามไว้อย่างละเอียดและเป็นระบบ พร้อมทั้งได้มีการทำดัชนีตามกรอบแนวคิดการวิจัยที่ได้กำหนดไว้อย่างกว้าง เพื่อตอบปัญหาการวิจัย สำหรับข้อมูลที่ได้จากเอกสาร ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการจำแนกประเภทข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูล และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การจำแนก และการจัดกลุ่มข้อมูล การเปรียบเทียบเหตุการณ์ และการสร้างข้อสรุปอุปนัย

             ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานการจัดการเรียนรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1.1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์บริบทชุมชนและโรงเรียนของตน เป้าหมายการเรียนรวม และพฤติกรรมการมีส่วนร่วม 1.2) การดำเนินงานการจัดการเรียนรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นสร้างความตระหนัก (2) ขั้นประสานงานบุคลากรแกนนำ (3) ขั้นสร้างพันธสัญญาร่วมกัน (4) ขั้นบริหารโรงเรียนในการเรียนรวม (5) ขั้นพัฒนาความสัมพันธ์ และ (6) ขั้นการรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 1.3) กระบวนการจัดการศึกษาในการเรียนรวมเป็นการบริหารงานร่วมกันแบบบูรณาการ 2) ปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนรวมโรงเรียนขนาดเล็ก คือ ปัญหาด้านสิทธิประโยชน์หลังจากรวมโรงเรียนในภาพรวม ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการเรียนรวม ได้แก่ การแสดงบทบาทของสมาชิกทุกคนในองค์กรที่สนับสนุนการจัดการเรียนรวมโรงเรียน คนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ลักษณะขององค์การ ลักษณะของนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ และลักษณะของสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยที่สำคัญระดับมากตามลำดับ ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการจัดการเรียนรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ได้แก่ บุคลากรไม่มั่นใจในสถานะของตน เป็นกังวลในการทำงานร่วมกัน 3) ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการเรียนรวมโรงเรียนขนาดเล็กอยู่ในระดับมาก

 

             Participation characteristics of stakeholders are their points of view about their own schools and context which consisted of determination for shared operation and results reporting. The goals of small schools combination consisted of effective existence without absorbing resources. Being learning resources and participation behavior consisted of setting shared value. The operation and administration of small schools combination consisted of 6 stages: 1) raising awareness 2) contact with leader persons of stakeholders 3) setting shared commitment 4) administration of small schools combination 5) developing relationship and 6) maintaining continuous relationship. Problems and hindrances in management of small schools combination were: 1) Parents were lack of confidence about safety of students’ transportation to schools. 2) Parents in combined school afraid that their old schools will be abolished. Success factors in small schools combination were: 1) School principals and teachers had awareness and understanding of rationale in combination of small schools. Risk factors in management of small schools combination were: 1) The jurisdiction policy for small schools management changed frequently. 2) Principals in main school took over the authority in administration. The satisfaction of relevant persons or stakeholders for small schools combination were at high level.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

อำนาจ จันทรขำ

อาจารย์ประจำหลักสูตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์    

References

มัณฑนา อินทุสมิต. (2554). การบริหารจัดการคุณภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่สามารถ ยุบรวม และล้มเลิก. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1. (2553). สรุปการดำเนินการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ปีงบประมาณ 2553. นครสวรรค์: ริมปิงการพิมพ์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2550). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของโรงเรียนพยุหะศึกษาคาร. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/Report/university_assess_popupdetail.php?SchoolID=๔๒๒๕๙๐&SystemModuleKeyQuery=BasicSc. (2554, 5 พฤศจิกายน).

. (2551). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของโรงเรียนบ้านประดู่เฒ่า. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/Report/university_assess_popupdetail.php? SchoolID=๔๑๒๓๕๐&SystemModuleKeyQuery=BasicSc. (2554, 5 พฤศจิกายน).

. (2552).รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของโรงเรียนบ้านย่านมัทรี. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/Report/university_assess_popupdetail.php?SchoolID=๔๑๕๑๒๔&SystemModuleKeyQuery=BasicSc. (2554, 5 พฤศจิกายน).

. (2554). “การประเมิน การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม”. จุลสาร สมศ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 9 (4): 3

Hoy, W.K, & Miskel, C.G. (1991). Educational administration: Theory, research and Practices.

th ed. Singapore: McGraw-Hill.

Lathapipat, D. (2014). A Study on Closing the School Performance Gap through Better

Public Resource Allocation: Thailand. Forthcoming. Bangkok: World Bank.

Nieto, S. and R. Ramos. (2013). Decomposition of differences in PISA results in middle

income countries. Background paper prepared for the education for all global

monitoring report 2013/4, teaching and learning: achieving quality for all.