สัมปรายิกัตถะ : พุทธธรรมเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

โสภณ ขำทัพ

Abstract

              บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมสัมปรายิกัตถะ 4 และการประยุกต์สัมปรายิกัตถะ 4 เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีขอบเขตในการศึกษาด้วยเอกสารปฐมภูมิจากพระไตรปิฎก และข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารอื่นๆ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาในสัมปรายิกัตถะ 4 หลักธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า ประกอบด้วย สัทธาสัมปทา สีลสัมปทา จาคสัมปทา และปัญญาสัมปทา ที่ส่งผลให้มีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นหลักธรรมที่ควรศึกษาและปฏิบัติตนเพื่อพัฒนากาย วาจา จิตใจ และสติปัญญาให้สูงขึ้น เป็นระบบการดำเนินชีวิตที่ทำให้บุคคลมีการพัฒนาอย่างบูรณาการ ยั่งยืน และทำให้มนุษย์เป็นองค์รวมของการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ

              การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการรับรู้และเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนอย่างรอบด้าน เป็นทางสายกลางที่ถูกต้องเหมาะสมตามวิถีชีวิตของคนไทย ซึ่งประกอบไปด้วยความเข้าใจในความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี บนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรม อันเป็นการนำไปใช้ด้วยความดีงามตามหลักสัมมาอาชีวะในพระพุทธศาสนา ที่ส่งผลให้สังคมมีเสถียรภาพ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และก่อให้เกิดผลในทางธรรมนั่นคือทำให้การดำเนินชีวิตมีความสงบสุขและมั่นคง

                 การประยุกต์สัมปรายิกัตถะ 4 เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นการดำเนินชีวิตที่ดีงามและเกิดความเจริญงอกงาม อันเป็นหนทางที่จะนำบุคคลเหล่านั้นเข้าสู่ถึงอิสรภาพทางจิตและเกิดสันติสุขอย่างแท้จริง  ทั้งนี้เป็นเพราะศรัทธาเมื่อบังเกิดขึ้นแล้วย่อมจะทำหน้าที่ขจัดความไม่เชื่อ ความสงสัย และความโลภให้เบาบางลง ศีลจะทำหน้าที่ขจัดความชั่วตามสมควรแก่ข้อนั้นๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นอาการของความโลภ ความโกรธ และความหลง จาคะจะทำหน้าที่ขจัดความตระหนี่ ของความโลภ ความโกรธ ความหลงหรือความเสียดายให้เบาบางลง ส่วนปัญญาจึงเสมือนกับแสงสว่าง เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำหน้าที่ขจัดความสงสัยความหลงให้หมดไปจากจิตใจตามลำดับ   

 

                

           The objectives of this article were to study the principles of Samparayikattha and to apply it for living a good life according the Sufficiency Economy Philosophy. The data were collected from the Tipitaka and the concerned documents. Samparayikattha consisting of faith, morality, charity and wisdom is the principle for physical, verbal and mental improving, the holistic development in human life and qualified development.

            Living a life in accordance with Sufficiency Economy Philosophy is to learn and to develop one’s self holistically. It is the middle way practice suitable to the ways of life of Thai people. It is composed of understanding, reasoning, and building a good immune based on knowledge and morality according to the Right Livelihood in Buddhism. That can result to a peaceful society and a happy and sustainable life.

            The application of Samparayikattha principles in living a life by Sufficiency Economy Philosophy is to proceed to prosperity and goodness in life and is to lead those people to mental liberation and real blissfulness. The reason is that the faith can eradicate doubts and suspects and reduce greed; morality is to control and eradicate the badness caused by greed, anger and delusion, charity is help to reduce and eradicate stingy, and wisdom helps to eradicate delusion.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

โสภณ ขำทัพ

สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม

References

ข้อมูลปฐมภูมิ

กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

ข้อมูลทุติยภูมิ

กมลชนก ศงสนันทน์. (2551). “การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี”. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี. (2550). “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ความเป็นมาและความหมาย”. กรุงเทพมหานคร : วรสารพัฒนบริหารศาสตร์ ปีที่ 47, ฉบับที่ 1.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพมหานคร : บริษัท สื่อตะวัน จำกัด,

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ), (2548). นิเทศธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร : กองทุนไตรรัตนานุภาพ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2549).พุทธธรรม, ฉบับปรับปรุงขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงเทพมหานคร : กลุ่มผู้สนใจศึกษาธรรม, บริษัทสหธรรมมิก จำกัด,

วิสูตร ธนชัยวิวัฒน์. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สูตร ไพศาล.

สุจิตรา ทิพย์บุรี. (2556). “หลักพุทธธรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนรางวัล พระราชทาน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2547). อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ. พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่พระราชทานแก่นิสิตในพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517, กรุงเทพมหานคร : รุ่งศิลป์ การพิมพ์.

โสภณ ขำทัพ. (2551). “เศรษฐกิจพอเพียงในบริบทวิถีชีวิตแบบพุทธตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

อภิชัย พันธเสน. (2549). สังเคราะห์องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ วิจัยกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Denzin & Lincoin. (2011). Handbook of Qualitative Research (4th edn.). Thousand Oaks, CA : Sage.