การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยสำหรับผู้ให้สัญญาณจราจร

Main Article Content

โชคชัย อลงกรณ์ทักษิณ

Abstract

                การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาชุดฝึกอบรมเรืองความปลอดภัยสำหรับผู้ให้สัญญาณจราจรให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  และเพิ่มความสามารถให้กับผู้ให้สัญญาณจราจรให้มีความสามารถก้าวหน้าเพิ่มสูงขึ้น  โดยเริ่มจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล  การวิเคราะห์งาน หัวเรื่อง และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม  จากนั้นจึงออกแบบชุดฝึกอบรมซึ่งเป็นเครื่องมือทดลองในการวิจัยในครั้งนี้และให้ผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินชุดฝึกอบรมแล้วจึงนำไปทดลองใช้  แล้วจึงนำชุดฝึกอบรมมาทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น  ต่อจากนั้นจึงนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย  โดยกลุ่มตัวอย่างเลือกมาแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 30 คน  ก่อนฝึกอบรมมีการทดสอบและระหว่างการฝึกอบรมมีการทำแบบฝึกหัด  เมื่อสิ้นสุดการฝึกมีการทดสอบอีกครั้งหนึ่ง  ต่อจากนั้นจึงนำผลคะแนนก่อนการฝึกอบรม คะแนนแบบฝึกหัด และคะแนนภายหลังสิ้นสุดการฝึกอบรมมาหาค่าประสิทธิภาพและตรวจสอบความสามารถที่ก้าวหน้าเพิ่มขึ้นภายหลังการฝึกอบรมด้วยสถิติ t-test ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ a = 0.01    ผลการวิจัยพบว่าชุดฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ 82.40/80.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ได้ตั้งไว้  ตลอดจนผลการตรวจสอบความสามารถของผู้รับการฝึกอบรมภายหลังการฝึกอบรมด้วยสถิติ t-test มีความก้าวหน้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

                 

                 

                  The purpose of this research is to develop a traffic safety training package for traffic signal man to meet the efficiency criteria of 80/80 and to increase the ability of traffic signal man. Starting by to study and analysis of data, tasks, subjects and behavioral objectives. Then design a training package which is the experimental tool in this research. Let the experts evaluated the training package and tried it out, then improved the training package. Later on applied to the research samples that selected in a specific group of 30 people. There were tests before the training and exercises during the training, then tested again after finished the training. Then applied pre-training scores, exercise scores, and scores after training to find the efficient values, and checked out the advanced skills after the training with t-test statistics. The statistically significant were at a = 0.01. 82.4 / 80.2, which is above the 80/80 threshold set. As well as ability of the trainees after the training with t-test statistics have increased significantly at the 0.01 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

โชคชัย อลงกรณ์ทักษิณ

ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล  คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  กรุงเทพฯ   

 

References

กระทรวงแรงงาน. (2551). กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงแรงงาน.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. (2559). โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า. 15 กรกฎาคม 2559. http://www.mrt.co.th.

โชคชัย อลงกรณ์ทักษิณ. (2549). การใช้ปั้นจั่นและเครนอย่างปลอดภัย. เทคนิคไฟฟ้า-เครื่องกล-อุตสาหการ, 23 (268), 151-52.

โชคชัย อลงกรณ์ทักษิณ. (2549). การใช้รถยกอย่างปลอดภัย. เทคนิคไฟฟ้า-เครื่องกล-อุตสาหการ, 23 (269), 153-155.

โชคชัย อลงกรณ์ทักษิณ. (2549). คู่มือการฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยสำหรับผู้ให้สัญญาณจราจร. กรุงเทพฯ : บริษัท เทอมอล แอนด์ ทรานส์มิชชั่น แมชชีน.

โชคชัย อลงกรณ์ทักษิณ. (2550). อุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้งานรถเครน. MECHANICAL TECHNOLOGY MAGAZINE, 6 (76), 81-83.

โชคชัย อลงกรณ์ทักษิณ. 2553. การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง ลิ้นนิรภัยของหม้อไอน้ำ. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 3. 25-26 สิงหาคม 2553 ณ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเพระนครเหนือ.

โชคชัย อลงกรณ์ทักษิณ. 2553. การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรม เรื่อง การเพิ่มความสามารถด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลให้กับหัวหน้างานควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 3. 25-26 สิงหาคม 2553 ณ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเพระนครเหนือ.

บรรจบ อรชร, อนุศิษฎ์ อันมานะตระกลู และ มีชัย พลัดพลิ่ง. 2553. ชุดฝึกอบรมการติดตั้งอุปกรณ์ก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 3. 25-26 สิงหาคม 2553 ณ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเพระนครเหนือ.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2550). การบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี, วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2543). วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2559). แผนการจัดจราจรทางบก. 17 มิถุนายน 2559. http://www.otp.go.th/index.php/post/view?id=478.

Bergeron, B. (editor). (2003). Essentials of Knowledge Management. USA : John Wiley & Sons, Inc.

Dalkir, K. (2005). Knowledge Management in Theory and Practice. USA : Elsevier.

Ilic, D. (2012). Knowledge Transfer. New York : Nova Science Publishers, Inc.