แนวทางการพัฒนาโปรแกรมการผลิตบุคลากรกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแผนกบริการส่วนหน้า เพื่อการแข่งขันในประชาคมอาเซียน

Main Article Content

ธนสิน จันทเดช

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของบุคคลากรรุ่นใหม่กลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแผนกบริการส่วนหน้าเพื่อการแข่งขันในประชาคมอาเซียน  2) ค้นหาแนวทางการพัฒนาผลิตบุคลากรกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโปรแกรมการผลิตบุคลากร ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้เทคนิควิธีการจัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยผู้วิจัยเลือกใช้การเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่กลุ่มนักวิชาการในฐานะผู้ผลิตบัณฑิตและกลุ่มผู้ประกอบการ

            ผลการศึกษาพบว่า ด้านความรู้ ความสามารถ (Knowledge and Skills) ด้านความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ผู้ประกอบการมีความเห็นว่าบุคลากรต้องปรับปรุงเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เนื่องจากระดับภาษาอังกฤษของบุคลากรส่วนใหญ่ยังไม่ได้อยู่ในระดับที่เป็นมาตรฐาน  ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการจับประเด็นในเรื่องงาน ที่ประชุมให้ความเห็นว่าบัณฑิตจบใหม่ หรือบุคลากรที่เพิ่งก้าวเข้าสู่การทำงานเป็นครั้งแรก มักจะไม่สามารถ จับประเด็นการทำงาน ประเด็นเรื่องงานในหน้าที่ หรืองานที่ได้รับมอบหมาย ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attributes) ด้านความเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นคนไทยที่ดี แม้จะสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ แต่ก็สื่อสารด้วยคุณลักษณะของความเป็นคนไทย  ด้านความกล้าในการแสดงออกบัณฑิตบางคนไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตน ก็ไม่กล้านำเสนอ ไม่กล้าสื่อสาร มหาวิทยาลัยควรพัฒนาในเรื่องนี้

 

 

The purpose of this research were to 1) study the performance of new generate tourism industry workers. 2) Study the development of production methods for tourism industry personnel for competition in the ASEAN Community. 3) Provide guideline for the development of Higher Education Programs to produce ASEAN-Competent Hotel’s Front Office Personnel. This research was qualitative research using Focus Group Discussion and In-depth Interview technique. The researcher chose to use purposive sampling are academic and entrepreneurial groups.

            The results showed that the knowledge and skills of English language ability for communication. The operators are of the opinion that personnel need to improve their English communication skills because the English level of most personnel is not the standard level. The ability to think critically and handle issues in their work. The meeting agreed that the new graduates or people just entering the workplace for the first time could not catch work issues on the job or a work assignment. The desirable attributes as the moral, ethical, the courage of expression, some graduates do not believe in their abilities. I do not present to communication, universities should develop in this point.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ธนสิน จันทเดช

อาจารย์ประจำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด วิทยาเขตเพชรบุรี

References

กรมการท่องเที่ยว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2552). รายงานสถิติการท่องเที่ยวประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2552.กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จิระ ประทีป. (2550). “ยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรมยางพาราของไทย.” วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาพัฒนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ และคณะ. (2551). “การจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรประจำท้องถิ่น กรณีศึกษา อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี.” รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎ.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2550). Competency เพื่อการประเมินผลงานประจำปี. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด.

ต่อตระกูล อุบลวัตร. (2550). “การนำเสนอยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยในบริบทการเปิดเสรีทางการค้า.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาพัฒนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทื้อน ทองแก้ว. (2554). สมรรถนะ (Competency): หลักการและแนวปฏิบัติ. เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2558. เข้าถึงได้จาก http://dusithost.dusit.ac.th/~ei/tuan/file21122005046.doc

ธิดารัตน์ โชคสุชาติ. “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย”. วารสาร มฉก. วิชาการมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 14, 27 (กรกฎาคม-กันยายน 2553): 20.

นิศา ชัชกุล. (2551). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว = Tourism Industry. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ.(2555).”ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเขตภูมิภาคตะวันตกเพื่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). มาตรฐานสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553).ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

องค์ความรู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community: AEC. บทความ AEC สำคัญที่ควรอ่าน. เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2559. เข้าถึงได้จาก http:/www.thai-aec.com/

Clare Foster, Scot McCabe, and Helen Dewhurst. (2010). “Management Development Skills in the Hospitality and Tourism Sector: Needs and Issues from a Regional Perspective.” Tourism and Hospitality

Planning and Development 7, 4 (January 2010): 429-445.

Fateme Tohidy Ardahaey. (2012). “Human Resources Empowerment and Its Role in the Sustainable Tourism.” Asian Social Science 8, 1 (January 2012): 105.

Mc Clelland, D.C. (1993). Introduction to the Concept of Competence. In L.M. Spencer and S.M. Spencer, Competence at Work, Spencer 1-8. New York: John Wiley & Son,Inc.

Sona Vikas. (2009). “Human Resource Development in Tourism: Developing a Training Strategy for Increasing

Employability.” International Journal of Tourism 25. 1 (January 2009): 45.

Suriya, Komsan. (2008). Modeling the Linkage between Tourism and Multiple Dimensions of Poverty in Thailand. Paper presented in the Fourth National Conference of Economists. 24th ed. Thailand: Chiang Mai.

UNESCO. (2006). “Towards Sustainable Strategies for Creative Tourism.” Discussion Report of the Planning

Meeting for 2008 International Conference on Creative Tourism, Santa Fe,New Mexico, U.S.A., October

-27, 2006. Retrieved from http://unesdoc.unesco.org/images/0015/001598/159811E.pdf

Waryszak, R.Z. (1999). “Students’ Expectations from Their Cooperative Education Placements in The

Hospitality Industry: An International Perspective.” Education and Training 41, 1 (December 1999):

-40.

WordNet. (2009). The Difference between Competent and Competency from Dictionary. accessed 18 March

available from http:/www.dictionary.reference.com/search?q=competency.

World Tourism Organization. (2013). Definition of Tourism. Retrieved from: www.world-tourism.org.

Yorke, M., and Harvey, L. (2002). Graduate Attributes and Their Development. New Directions for Institutional

Research,

Zegward, K.E., and Hodges, D. (2003). “Science and Technology Stakeholders’ Ranking of Graduate

Competencies Part 4: Faculty Perspective.” Asia-Pacific Journal of Cooperative Education 4,2 (May

: 36-48.

Zwell, M. (2000). Creating a Culture of Competence. New York: John Wiley and Sons, Inc.