แนวทางการพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่ายละครกรุงเทพ

Main Article Content

รณชาติ บุตรแสนคม

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่ายละครกรุงเทพ และค้นหาแนวทางการพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่าย เก็บข้อมูลโดยใช้การสังเกต การวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึก มีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ผลิตละครในเครือข่าย ผู้ผลิตละครเชิงพาณิชย์ และนักวิชาการด้านการละคร จากการศึกษาพบว่าเครือข่ายมีทิศทางการทำงานคือ 1) สร้างตัวตนของคนละครและส่งเสริมการดำรงอยู่ของศิลปะละครเวที 2) สร้างพื้นที่การแสดงให้กับคณะละครในกทม. 3) สานต่อและพัฒนาเครือข่ายโดยถ่ายทอดความคิดไปสู่คนรุ่นใหม่ เครือข่ายรวมตัวกันอย่างหลวมๆ มีสมาชิก 3 ประเภทคือสามัญ วิสามัญ และสถาบันการศึกษา ประดิษฐ ประสาททอง มีบทบาทเป็นแกนนำ สมาชิกสามัญมีโครงสร้างเชิงระนาบ ช่วงเทศกาลละครแบ่งการบริหารเป็น 4 ฝ่ายคือฝ่ายผลิต กำกับศิลป์ โปรแกรมการแสดง และประสานงาน งบประมาณบริหารมาจาก 3 ส่วนคือเงินค่าสมาชิกและค่ารอบการแสดง เงินกองกลางของเครือข่าย และเงินจากการขอรับการสนับสนุน เครือข่ายมีวัฒนธรรมความผูกพันใกล้ชิดเสมือนเครือญาติ มีความเป็นศิลปินสูงและมีค่านิยมร่วมในการแสดงศักยภาพและความมีตัวตน ทรัพยากรที่สำคัญอย่างยิ่งของเครือข่ายคือทรัพยากรบุคคลที่เป็นผู้รักศิลปะ การบริหารเครือข่ายมีเงื่อนไขการเข้าร่วม เป็นงานอาสาสมัครที่มีการบริหารอย่างเข้มข้น แต่เครือข่ายจะไม่เข้าไปก้าวก่ายงานของแต่ละคณะละคร ส่วนแนวทางการพัฒนาการจัดการเชิง กลยุทธ์ พบว่าความสัมพันธ์ ACT เป็นหัวใจของการดำรงอยู่ของศิลปะละครเวที และควรใช้กลยุทธ์ STRONG ACT มาเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์

 

 

This is qualitative research aiming to 1) study overall state of strategic management of Bangkok Theatre Network-BTN, and to 2) search for approaches to develop strategic management of BTN. This research applies three methodology techniques which are observation, document analysis and in-depth interview. The targets of the research are members of BTN, commercial stage play producers and stage play scholars. Conclusions are as following. The operational directions of the network are 1) Vision - identity formation of theatre makers and supporting sustainable existence of Thai theatre arts, 2) Mission - public sphere establishment for stage play groups in Bangkok and 3) Goal – network continuity and further development by inheriting their thoughts and concepts to new generation of members. This network operating as a flexible network with three memberships: common, extraordinary and academic categories. The common membership type has horizontal structure playing a central part of holding annual Bangkok Theatre Festival-BTF. In terms of action, Mr. Pradit Prasarthong is generally the network leader. For BTF preparation period, the administrative team is divided into four parts: producing, art directing, programming and coordinating. Meanwhile, the budget comes from three sources: membership fees, playing round payment and event sponsors. Network Culture is advocating a close bond of kinship-like relationship among members running the network informally. Members have high artistic characteristics with core values of the network which are expressing their potentials and identity. Human resource is the most important part of the network. The BTN has agreements and conditions to join in. Central operation is volunteer work but with intensive management. The Network does not interfere with each company’s operation and art creation. Approaches to develop BTN – It is found that ACT relationship is the Network’s core sustainability factor of Bangkok theatre arts. As a consequence, the Network should apply STRONG ACT Strategy to improve its strategic organization.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

รณชาติ บุตรแสนคม

ดุษฎีบัณฑิตหลักสูตรการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร

References

เครือข่ายละครกรุงเทพ. (2557). เกี่ยวกับ BTN. สืบค้นวันที่ 3 ตุลาคม 2557, จาก

http://bangkoktheatrenetwork.com/site/about

เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์. (2553). การวางแผนเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อิมเมจ เอ็นเตอร์ไพรส์.

อาภาพัชร หงษ์เวียงจันทร์. (2551). การเปิดรับสื่อและความพึงพอใจต่อเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์

ในทัศนะของผู้ชมละครเวที. (วิทยานิพนธ์ นศ.ม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัฐพนธ์ บรรจงวุฒิ. (2554). การจัดการเครือข่ายศิลปวัฒนธรรม: กรณีศึกษาเครือข่ายละคร

กรุงเทพ. (วิทยานิพนธ์ ศศ.ม). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Michael E. Porter. (1980). Competitive Strategy. New York: Free Press.

Pearce, J. A., & Robinson, R. B. (2009). Strategic Management: Formulation,

Implementation and Control. (11th Edition). New York: McGraw-Hill.

Scribner, S. (2000). Policy Toolkit for Strengthening Health Sector Reform Section.

Introduction to Strategic Management, 5, 5-3.