การคุกคามทางเพศกลุ่มชายข้ามเพศ: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก

Main Article Content

ชลธิชา ทิพย์ประทุม
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมายและที่มาของการคุกคามทางเพศกลุ่มชายข้ามเพศ   2) ศึกษาประสบการณ์ในชีวิต วิธีการแก้ไข และการเผชิญปัญหาการคุกคามทางเพศกลุ่มชายข้ามเพศ 3) สร้างทฤษฎีฐานรากการคุกคามทางเพศกลุ่มชายข้ามเพศ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหาข้อสรุปเชิงทฤษฎีจากนักศึกษากลุ่มชายข้ามเพศ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมจำนวน 9 คน เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงและแบบสโนว์บอล เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การจดบันทึก และการศึกษาเอกสาร 

            ผลการวิจัยพบว่า 1) การคุกคามทางเพศ คือ การล่วงเกินโดยไม่สมยอม ที่มาของการคุกคามทางเพศกลุ่มชายข้ามเพศมาจากการทำตนเองและใช้เงินซื้อความรัก 2) ด้านประสบการณ์ พบว่า กลุ่มชายข้ามเพศถูกคุกคามทางเพศในระดับความรุนแรงน้อยถึงระดับความรุนแรงมาก กลุ่มชายข้ามเพศจะแก้ไขปัญหาโดยการนิ่งเฉย และเผชิญปัญหาโดยการทำตนเองให้มีคุณค่า 3) ข้อสรุปเชิงทฤษฎี คือ 1. เมื่อใดก็ตามที่กลุ่มชายข้ามเพศ  ทำตนเองให้เป็นจุดสนใจ แสดงอาการร่าน และใช้เงินเพื่อซื้อความรัก เมื่อนั้นกลุ่มชายข้ามเพศมักถูกคุกคาม    ทางเพศ 2. การคุกคามทางเพศระดับความรุนแรงน้อย คือ การคุกคามทางวาจาด้วยคำพูดทั่วไปและการคุกคามทางสายตา และระดับความรุนแรงมาก คือ การคุกคามทางวาจาด้วยคำพูดหยาบคายและการคุกคามทางร่างกาย 3. เมื่อใดก็ตามที่กลุ่มชายข้ามเพศถูกคุกคามทางเพศระดับความรุนแรงน้อย เมื่อนั้นกลุ่มชายข้ามเพศมักใช้การนิ่งเฉย 4. เมื่อใดก็ตามที่กลุ่มชายข้ามเพศถูกคุกคามทางเพศระดับความรุนแรงมาก เมื่อนั้นกลุ่มชายข้ามเพศมักตอบโต้ และนำตนเองออกจากสถานการณ์นั้นทันที 5. การทำตนเองให้มีคุณค่าเป็นหนทางหนึ่งในการหลีกเลี่ยงปัญหาคุกคามทางเพศ

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กิตติกร สันคติประภา. (2550). การลวนลามทางเพศกลุ่มชายข้ามเพศ: นัยสําคัญภายใตวาทกรรมรักต่างเพศ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชลธิชา ทิพย์ประทุม และประสพชัย พสุนนท์. (2558). องค์ประกอบของการคุกคามทางเพศในชุมชนเสือใหญ่อุทิศ กรุงเทพมหานคร, วารสารจันทรเกษมสาร, 21 (40).

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.

รัชฎากรณ์ ศรีรักษา และศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2557). วาทกรรมการคุกคามทางเพศในชีวิตประจำวัน, วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 32 (2), 86.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพินทร์ ชูชม และคณะ. (2548). การรับรู้การลวนลามทางเพศของนิสิตมหาวิทยาลัยในประเทศไทย, วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 11 (1), 35.

อรพินท์ สพโชคชัย. (2542). ประเด็นสำคัญและข้อควรรู้เกี่ยวกับการล่วงเกินทางเพศ. เรื่อง กระบวนยุติธรรมกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง. กรุงเทพฯ: สถาบันกฎหมายอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด.

Charmaz. K. (2006). Constructing Grounded Theory: A Practical Guide through Qualitative Analysis. California: Sage Publication.

Equal Employment Opportunity Commission. (2015). Sexual Harassment. Retrieved January 5, 2015, http://www.eeoc.gov/laws/types/sexual_harassment.cfm

International Labour Office. (2013). Sexual Harassment at work. Retrieved February 11, 2015, http://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---ed_norm/---declaration/documents/publication/wcms_decl_fs_96_en.pdf