ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรม ของโรงเรียนอนุบาลเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

Main Article Content

สุจิตรา ทิพย์บุรี

Abstract

            งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูและเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของโรงเรียนอนุบาลเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำแนกตามเพศและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูในโรงเรียนอนุบาลเอกชน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2  จำนวน 123 คน เครื่องมือการวิจัย คือแบบสอบถาม (Likert Scale) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA)

             ผลการวิจัยพบว่า

             1.ครูโรงเรียนอนุบาลเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของโรงเรียนอนุบาลเอกชน ด้านความมีเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของการบริหารงานพบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของโรงเรียนอนุบาลเอกชน อยู่ในระดับมากทุกด้าน  โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือด้านอาคารสถานที่ ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ด้านธุรการและการเงิน ด้านกิจการนักเรียน ด้านวิชาการ และด้านบุคลากร

             2. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของโรงเรียนอนุบาลเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำแนกตามเพศและระยะเวลาในการปฏิบัติงานพบว่า ครูที่มีเพศและระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกันมีความพึงพอใจ   ในการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน

 

              This research aims to study the satisfaction of teachers towards Brahmavihara Dhamma based administration of kindergartens under Nonthaburi Elementary Education Service Area 2, and compare the teachers’ satisfaction of teachers based on their genders and length of time working. The samplings used in the study were 123 teachers in private kindergartens under Nonthaburi Elementary Education Service Area 2. The data were collected through 5-rating scale questionnaires with 0.92 reliability and were analyzed by frequency, mean, standard deviation and one-way ANOVA test.

              The results showed that:                      

               1. The satisfaction of teachers in private kindergartens under Nonthaburi Elementary Education Service Area 2 was in the high level in overall, such as Matta, Karuna, Mudita, and Upekkha. In details, the highest level was on the buildings, followed by community relations, administrative and financial affairs, student activities, academic respectively, and personnel.

            2. The teachers with different genders and length of time working had no significantly different level of satisfaction towards Brahmavihara Dhamma based administration of kindergartens. It was not follow the suggestion.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

สุจิตรา ทิพย์บุรี

ผู้รับใบอนุญาต/ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลโชตะนันท์ จังหวัดนนทบุรี  อาจารย์พิเศษสาขาวิชาวิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม

References

กรมวิชาการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรไทยกรุงเทพมหานคร.

กรมศิลป์ ลิ่มประสิทธิ์. (2551). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรม ในการบริหารสถานศึกษาเพื่อคุณค่าทางสังคม. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิต.

ณิชกานต์ โชติรัตน์. (2550). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานโรงเรียนโชคชัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

ดวงกมล บุตรแก้ว. (2552). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูประถัมภ์.

พระชนะ ชยธมฺโม (ชนะชัย). (2554). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กลุ่ม 10. วิทยานิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระอุเทน อุเทโน (สํารวยกูล). (2555). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา อําเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มณชยา ศานติ์สุทธิกุล. (2556). ความพึงพอใจและแนวทางสนองความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

รจนา เตชะศรี. (2550). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุจิตรา ทิพย์บุรี. (2555). หลักพุทธธรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนรางวัลพระราชทาน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธศาสนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. (2548). กลยุทธ์ในการบริหารสถานศึกษากับความสัมพันธ์ชุมชน. เอกสาร ประกอบการบรรยาย. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2554). รายชื่อโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : สำนักบริหารงาน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี. (2557). ทำเนียบสถานศึกษา ปีการศึกษา 2558. นนทบุรี : กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศ.

Bloom S. Benjamin. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook I : The Cognitive Domain. New York: David McKay Co Inc.

Krejcie , Robert V. and Daryle W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Seillities. Educationa And Phycholgical Measurement.