รูปแบบที่เหมาะสมของการสร้างคุณค่าของธุรกิจสิ่งพิมพ์ตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Main Article Content

ชิษณุ ภู่อยู่

Abstract

             การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณค่าและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างคุณค่าของธุรกิจสิ่งพิมพ์ในบริบทของประเทศไทย และ 2. พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบที่เหมาะสมของการสร้างคุณค่าของธุรกิจสิ่งพิมพ์ตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การศึกษาครั้งนี้ใช้ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลการประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาติ ครั้งที่ 8 จำนวน 5 ราย ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจสิ่งพิมพ์ จำนวนทั้งสิ้น 380 ราย ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสำมะโน สถิติที่ใช้ในงานวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความตรงโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการศึกษาพบว่า: 1. คุณค่าของธุรกิจสิ่งพิมพ์ในบริบทของประเทศไทย คือ คุณค่าด้านหน้าที่การใช้งาน/ความมีประโยชน์ คุณค่าด้านประสบการณ์/ความชอบ คุณค่าด้านต้นทุน/ การเสียสละ และคุณค่าด้านสัญลักษณ์/การแสดงออก และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างคุณค่าของธุรกิจสิ่งพิมพ์ในบริบทของประเทศไทย คือ การมุ่งเน้นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นตลาด และองค์การแห่งการเรียนรู้ 2. จากการพัฒนาโมเดลรูปแบบที่เหมาะสมของการสร้างคุณค่าของธุรกิจสิ่งพิมพ์ตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พบว่า ปัจจัยการมุ่งเน้นผู้ประกอบการ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างคุณค่ามากที่สุด รองลงมาคือ การมุ่งเน้นตลาด และองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามลำดับ และรูปแบบที่มุ่งเน้นผู้ประกอบการ มุ่งเน้นตลาด และองค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นรูปแบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 

 

                 The purposes of this research were to: 1) study values and factors influencing the value creation of printing business in Thailand context, and 2) develop and investigate the appropriate model of value creation of printing business in accordance with creative economy theoretical framework. In this study, the researcher utilized methodologies of both qualitative research and quantitative research. For the qualitative research, the researcher used in-depth interview technique as the tool for data collection from 5 entrepreneurs who received awards from the 8th National Printing Competition. For the quantitative research data collection, the researcher distributed questionnaires to 380 entrepreneurs obtained by census sampling. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and Structural Equation Modeling (SEM). The results of the study revealed that: 1) The values of printing business in Thailand context were functional/instrumental value, experiential/hedonic value, cost/sacrifice value, symbolic/expressive value and factors influencing the value creation of printing business in Thailand context were entrepreneurial orientation, market orientation and learning organization. 2) This researcher found out from the development of the appropriate model of value creation of printing business in accordance with creative economy theoretical framework that the factor focused on the entrepreneurial orientation was the factor affected value creation at the highest level, the other affected factors were market orientation and learning organization respectively and the model focused on entrepreneurial orientation, market orientation, and learning organization was appropriate and well fitted to empirical data. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ชิษณุ ภู่อยู่

นักศึกษาระดับหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์  จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

References

นิติ รัตนปรีชาเวช. (2553). ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากมุมมองแนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมองค์การ.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร ดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย. (2552). สถานภาพความรู้เศรษฐกิจสร้างสรรค์และศักยภาพของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในการพัฒนาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 6 ธันวาคม 2559. จาก http: dmcrth. Dmcr. Go. th/ppsd/detail/660.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2555). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 13 ตุลาคม 2558. จาก http: www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/Indust Basic Knowledge/Master_7.pdf

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

Abideen, Zain UI., & Saleem, Salman. (2011). Examining Market Orientation and its Impact on New-Product Success in Pakistan. European Journal of Business and Management, 3 (4), 299-308.

Herrera, David A. (2007). A Validation of a Learning Organization as A Driver of Performance Improvement .Doctoral dissertation, Casella University.

Lumpkin, G.T., & Dess, G. (1996). Clarifying the Entrepreneurial Orientation Construct and Linking it to Performance. Academy of Management Review. 21, (1), 135-172.

Madhoushi, Mehrdad., Sadati, Abdolrahim., Delavari, Hamidreza, Mehdivand, Mohsen., & Mihandost, Ramin. (2011). Entrepreneurial Orientation and Innovation Performance: The Mediating Role of Knowledge Management. Asian Journal of Business Management, 3 (4), 310-316.

Marquardt, M.J. (2011). Building the learning organization : Achieving strategic advantage through a commitment to learning ( 3rd ed). Boston: Nicholas Brealey Publishing.

Narver, J.C., Slater, S.F., & Tietje, B. (1998). Creating a market orientation. Journal of Market Focused Management, 2, 241–55.

Singh, Ranbir., & Kumar, Raman. (2012). Factors responsible for Indian it Entrepreneurs’ ability to deliver superior customer value. International journal of peace and conflict studies (IJPCS), 1 (1), 11-16.

Smith, J.B., & Colgate, M. (2007). Customer value creation: A practical framework. Journal of Marketing Theory and Practice 15 (1), 7-23.

Suliyanto. (2011, April). Effect of Entrepreneurship Orientation and Marketing-Based Reward System towards Marketing Performance. International Journal of Business and Social Science, 2 (6).