กลยุทธ์ที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของผู้ประกอบธุรกิจผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

สุวิทย์ อินเขียน
สุภาพร คูพิมาย
ศุภกร พรหิรัญกุล

Abstract

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกลยุทธ์ ระดับความสำเร็จ และความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์กับความสำเร็จของผู้ประกอบธุรกิจผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อผู้ประกอบการ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าของ หรือผู้บริหารกิจการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 213 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าไคว์สแคว์

              ผลการวิจัยพบว่าสถานประกอบการส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดย่อม จัดตั้งในรูปแบบบริษัท มีจำนวนพนักงาน 50 คนขึ้นไป มีระยะเวลาในการดำเนินงานของกิจการ 5 ปีขึ้นไป ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบกลยุทธ์พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และด้านปรับปรุงสินค้าและบริการมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นมากที่สุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จของผู้ประกอบธุรกิจพบว่า ด้านกระบวนการภายในโดยภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยที่ความสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด  ในขณะที่ด้านการเติบโตของกิจการพบว่า ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มีผลประกอบการดีขึ้น และมีจำนวนลูกค้าเพิ่มมากขึ้น

              ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ขนาดของกิจการ และรูปแบบของกิจการมีความสำเร็จของผู้ประกอบธุรกิจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05ผลการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พบว่า กลยุทธ์ทุกลยุทธ์ได้แก่ กลยุทธ์โดยภาพรวม กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง กลยุทธ์ปรับปรุงสินค้าและบริการ กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ กลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และกลยุทธ์นวัตกรรม มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของผู้ประกอบธุรกิจผลิตด้านกระบวนการภายในไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ผลการทดสอบค่าไคว์สแคว์ พบว่า กลยุทธ์ทุกกลยุทธ์มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จด้านลูกค้าและด้านผลประกอบการอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 

 

               The objective of this research was to study strategic platforms, success level and relationships between strategies and business success of machinery firms in Samut Prakan province in order to propose proper and effective strategies for entrepreneurs. The samples were 213 business owners or management teams whose firms were located in Samut Prakan province. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent t-test, Pearson correlation coefficient and chi-square statistic.

               The results revealed that the majority of firms were SMEs with over 50 employees and having been operated for over 5 years. The respondents’ opinions toward the overall strategic platforms were at a high level while those on the improvement of goods and services were at the highest level. Moreover, the level of their business success on internal business process was rated high while the ability to leverage technology to its fullest was at the highest. For business growth aspect, most of the respondents agreed that their performance was better and gained more customers.

            Hypothesis testing indicated that there were significant differences in firm sizes and types at the level of .05. Besides, all of the strategies including overall aspect, differentiation strategy, low cost strategy, improvement of goods and services strategy, customer relationship strategy and innovation strategy were correlated with internal business success at the significance of .01. The chi - square test indicated that all of the strategies were related to business performance and customer increase at the significance of .05 level 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

สุวิทย์ อินเขียน

นักศึกษาหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 

สุภาพร คูพิมาย

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราขมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

ศุภกร พรหิรัญกุล

นักวิชาการอิสระ

References

กษมรัตน์ มะลูลีม. (2557). ปัจจัยสื่อสังคมออนไลน์ ความสัมพันธ์กับลูกค้า คุณภาพความสัมพันธ์

และการรับรู้ถึงคุณภาพของสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านเบเกอรี่คาเฟ่ของ

บริโภคชาวมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

กรมโรงงานอุสาหกรรม. (2558). ข้อมูลโรงงาน. สืบค้นจาก http://www.diw.go.th/hawk/contentจรินทร์ อาสาทรงธรรม. (2546). Balanced Scorecard ช่วยกิจการได้จริงหรือ?.

วารสาร BU Academic Review, 2(1),138-143.

ดนัย เทียนพุฒ. (2548). 4 กลยุทธ์ชั้นสูง Balanced Scorecard. กรุงเทพฯ: คณะบุคคลโครงการ

Human Capital.

ธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ สุจินดา เจียมศรีพงษ และชาตรี ปรีดาอนันทสุข. (2557). องค์ประกอบของ

ตัวแบบธุรกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจซอฟต์แวร์ในประเทศไทย.วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(1), 65-75.

ธีรยุส วัฒนาศุภโช .ค(2548). การบริหารเชิงกลยุทธ์และการแข่งขัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (ครอบคลุมทุกเวอร์ชั่น)

(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : วี.อินเตอร์ พริ้น.

ปิยฉัตร จันทิวา. (2546). แนวทางการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมให้ประสบความสำเร็จตามทัศนะของ

ผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล “อุตสาหกรรมดีเด่น”. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

ปิยพร ชัยชาญณรงค์. (2551). การศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการส่งออกของอุตสาหกรรม

เครื่องนุ่งห่มของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

พิบูล ทีปะปาล. (2555). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

พรพิมล กลำพากร. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซิบร้า อินเตอร์

เนชันแนล มูบเวอร์ แอนด์ โลจีสติกส์ จำกัด. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

พรนภา เปี่ยมไชย, สุภาพร คูพิมาย และสุภิญญา อนุกานนท์. (2558). กลยุทธ์และความสำเร็จของ

ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.

(งานวิจัยคณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ไพโรจน์ ปิยะวงศ์วัฒนา. (2555). การจัดการเชิงกลยุทธ์: เทคโนโลยีและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศรัญญา เชื้อมั่ง. (2545). กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมของไทยที่ประสบความสำเร็จในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ: ศึกษาเฉพาะกรณีธุรกิจขนาดย่อมที่ได้รับเชิญจากรายการวิทยุล่าธุรกิจ SMEs. (ภาคนิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันราชภัฏสวนดุสิต).

สมคิด บางโม. (2555). การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เอสเค บุคส์.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2544). กลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

เสนาะ ติเยาว์. (2546). การบริหารกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพาดา สิริกุตตา. (2556). กลยุทธ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กรธุรกิจ: กรณีศึกษาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคกลางตอนบน.วารสารเกษตรศาสตร์, 34(3), 428-439.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์ (แนวคิดและทฤษฎี). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2554). นิยาม SMEs. สืบค้นจาก http://www.sme.go.th/Pages/Define.aspx

สาโรจน์ โอพิทักษ์ชีวิน. (2550). การบริหารเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

พิพัฒน์ ก้องกิจกุล. (2550). Balanced Scorecard กับการเน้นกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.

จักร ติงศภัทย์. (2549). กลยุทธ์: การสร้างและการนำไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.

Karabulut, A. T. (2015). Effects of Innovation Strategy on Firm Performance: A Study Conducted on Manufacturing Firms in Turkey. Social and Behavioral Sciences. 195, 1338-1347.

Panayides, P. (2013) .Coefficient Alpha Interpret With Caution. Europe's Journal of Psychology, 9(4), 687-696.

Porter, M. E. (1980). Competitive strategy: Techniques for analyzing industries and competitors New York: Free Press.

Prajogo, D. I. (2016). The strategic fit between innovation strategies and business environment in delivering business performance. Int. J. Production Economics, 171, 241-249.

Siriwan, U. et al. (2013). The management of the small and medium enterprises to achievement competitive advantage in northern Thailand. Conference of the International Journal of Arts & Sciences, 6(1), 147-157.