องค์ประกอบที่ส่งผลต่อคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

อภิรมย์ สีดาคำ
ณรงค์ศักดิ์ จันทร์นวล

Abstract

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1.  เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน  หน่วยวิเคราะห์ที่ใช้สำหรับการวิจัยคือ  โรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน  จำนวน 31 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรมข้อมูลคือแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 1. กลุ่มผู้บริหาร  จำนวน 31 รูป/คน  2. กลุ่มครู จำวน  161 รูป/คน  และ 3. กลุ่มนักเรียน  จำนวน  353 รูป  รวมทั้งสิ้น  545 รูป/คน

             จากผลการวิจัย พบว่า

                   1. ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหูคูณแบบขั้นตอน (Stepwise  Multiple Regression  Analysis) พบว่า  จากจำนวนองค์ประกอบ 8 ด้าน ทุกด้านส่งผลต่อคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน  ประกอบด้วยองค์ประกอบด้านคุณลักษณะของนักเรียน  มีอำนาจพยากรณ์มากที่สุด  องค์ประกอบที่มีอำนาจพยากรณ์รองลงมาตามลำดับคือ  คุณภาพของสื่อการเรียนการสอน  การมีส่วนร่วมของชุมชน  สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน  ทุนและวัสดุอุปกรณ์  คุณภาพของครู  ภาวะผู้นำของผู้บริหาร  และการประกันคุณภาพภายใน และ พบว่า องค์ประกอบทุกด้านส่งผลต่อคุณภาพมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดภาคเหนือตอนบนในระดับปานกลางถึงระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเมื่อนำตัวแปรมาเข้าสู่สมการพยากรณ์ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคุณ () เท่ากับ  0.818 มีอำนาจพยากรณ์  () เท่ากับ 0.669 หรือสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 66.9

                   2. แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน  คือ ทุกโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา  ควรให้ความสำคัญทั้ง  8 องค์ประกอบ จะละเว้นองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้

 

                This research consisted of two objectives as 1. to investigate the factors affecting the Education Standards Quality of those schools, and 2. to explore the suitable guidelines for developing the Education Standards Quality of Tripitaka Schools in Upper Northern Provinces. The Units of Analysis were 31 Tripitaka Schools in Upper Northern Provinces. The research instrument was a questionnaire using to collect data from 545 respondents consisted of 31 administrators, 161 teachers, and 353 students.

                The findings were as follows:

                     1. The results of the Stepwise Multiple Regression Analysis revealed that all 8  factors affected the Education Standards Quality of Tripitaka Schools in Upper Northern Provinces. The Students Characteristics had the highest predicting power, followed respectively by these factors, namely, Instructional Media Quality, Community Participation, School Physical Environments, Budget and Materials, Teacher Quality, Administrators Leadership, and Internal Quality Assurance.

                     2. The suitable guidelines for developing the Education Standards Quality of  Tripitaka Schools in Upper Northern Provinces were proposed that every Tripitaka School should pay attention to all 8 affecting factors without skipping anyone of them.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

อภิรมย์ สีดาคำ

นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ณรงค์ศักดิ์ จันทร์นวล

อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 35. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต), 2559.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). สภาพการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กองแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2547). รายงานข้อมูลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. กรงเทพมหานคร: กองพุทธศาสนา.

_____________. (2552). รายงานข้อมูลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กองพุทธศาสนา.

_____________. (2556). รายงานข้อมูลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กองพุทธศาสนา.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.). (2544) กรอบการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ในมาตรฐานเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก. 28 มิถุนายน 2544. กรุงเทพฯ : สำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน).

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication.