การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำนาข้าวอินทรีย์ของชาวนา ในภาคตะวันออกของประเทศไทย

Main Article Content

อุดมศักดิ์ วงพิศาล
ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ
ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์
สมใจ นกดี

Abstract

                 งานวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาภาพการณ์ของชาวนาอินทรีย์ตามระบบการจัดการทำนาข้าวอินทรีย์ 2. เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำนาข้าวอินทรีย์ของชาวนา 3. เพื่อศึกษารูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำนาข้าวอินทรีย์ของชาวนา และ 4. เพื่อเสนอแนะต่อการส่งเสริมและขยายผลการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำนาข้าวอินทรีย์ของชาวนา ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้โดยการเจาะจง และเทคนิคสโนว์บอล ได้แก่ ชาวนาข้าวอินทรีย์ รวม 49 คน และผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 24 คน วิธีดำเนินการวิจัยในสนามการวิจัยจำนวน 8 กลุ่ม 5 จังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทย และตรวจสอบข้อมูลผลการศึกษาดังกล่าวโดยผู้เชี่ยวชาญ วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกตในสนามการวิจัย และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แนวคำถามการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม เครื่องบันทึกภาพและบันทึกเสียง เครื่องเขียน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

                  1. สภาพการณ์ของชาวนาอินทรีย์ตามระบบการจัดการทำนาข้าวอินทรีย์ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ประกอบด้วย การจัดการการผลิตได้แก่ 1) การเตรียมพื้นดิน 2) การคัดเลือกพันธุ์ข้าว 3) วิธีปลูกข้าวด้ายการปักดำและหว่าน 4) การรักษาดูแล ด้วยการบำรุงดินและการจัดการศัตรูข้าว และการจัดการผลผลิต ได้แก่ การเกี่ยว การนวด การสี การบรรจุหีบห่อ การบรรจุภัณฑ์ และขอการรับรองมาตรฐาน 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำนาข้าวอินทรีย์ของชาวนาในภาคตะวันออกของประเทศไทยได้แก่ ระดับปัจเจกบุคคลคือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ระดับกลุ่ม/ชุมชนคือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และระดับสังคมคือภูมิปัญญาไทยสู่การพึ่งตนเองได้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง 3. รูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำนาอินทรีย์ข้าวอินทรีย์ของชาวนาในภาคตะวันออกของประเทศไทยประกอบด้วย 3 ลักษณะ ได้แก่ จากบรรพบุรุษ จากการพัฒนาด้านต่างๆ และการผสมผสาน และมี 7 วิธีการได้แก่ 1) จากบรรพบุรุษ 2) อบรมประชุมสัมมนาสาธิตดูงาน 3) ชักชวนพูดคุย 4) แนะนำให้คำปรึกษา 5) เป็นแบบอย่างที่ดี 6) การลองผิดลองถูก/ทดลองปฏิบัติจริง 7) ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ และ 4. เสนอแนะต่อการส่งเสริมและขยายผลการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำนาข้าวอินทรีย์ของชาวนาได้แก่ 1) ผังแนวคิดการวิจัยครั้งนี้ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 2) กลไกการสร้างความเข้มแข็งของการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำนาข้าวอินทรีย์ 3) การให้แรงเสริมในการส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำนาข้าวอินทรีย์ และ 4) แนวทางการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำนาข้าวอินทรีย์สู่การขยายผลในอนาคต

 

                 The objectives of this research study were: 1. to study the circumstances of farmers following organic following management systems in the Eastern Part of Thailand 2. to study the local wisdom of farmers on organic farming 3. to study methods of transferring local wisdom on organic farming by farmers, and 4. to make suggestion for expansion of the transfer of local wisdom on organic farming. In this study, the researcher used qualitative methodologies. The sample was comprised of 49 organic farmers and 24 experts, obtained by using snowball techniques. The research methodologies were set up by dividing the total amount of farmers into 8 organic farm groups in 5 eastern provinces. The tools used for data collection were in-depth interviews, participant observation, and group discussions. The collected data were analyzed by means of content analysis.

                  The study results were as follow:

                              1. The circumstances of farmers following organic management systems in the Eastern Part consisted of manufacturing management, namely 1) preparation of soil 2) selection of rice genus 3) methods of sowing and transplanting rice, and 4) soil nourishment, decreasing pests, management of results of production, such as ways of harvesting rice, threshing rice, husking rice, methods of packing products, and following organic process of quality assurance standards. 2. The farmers’ local wisdom about operating organic farms, was shown at the individual level to be folk wisdom, at the group/community level to be local wisdom, and at national level to be Thai wisdom on organic farming, which has been moving towards self-reliance. 3. The methods of transferring local wisdom on organic farming of farmers in the Eastern Part of Thailand had 3 characteristics, namely: transferring from ancestors, transferring from experts, and transferring by using the most practical aspects from all development processes/techniques needed to achieve the best outcome. The learning of farmers on organic farming can be categorized in 7 ways, namely: 1) learning from ancestors 2) meeting and/or training workshops 3) persuasion by other farmers 4) advice and suggestion by experts 5) learning from good models 6) learning from experimentation and (7) studying from learning resources. And 4. Suggestions for the expansion of transfer of local wisdom on organic rice farming are the following: 1) promote ideas from this research, which are congruent with the country’s development strategies 2) strengthen local wisdom on organic rice farming 3) reinforce the transfer of local wisdom on organic rice farming, and 4) apply local wisdom on organic rice farming, aiming at widespread expansion.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

อุดมศักดิ์ วงพิศาล

นักศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ

อาจารย์ที่ปรึกษา คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์

อาจารย์ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

สมใจ นกดี

อาจารย์ที่ปรึกษา โรงพยาบาลพุทธโสธร

References

โชติกาญจน์ ธรรมบุตร. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรกับการจัดการด้านผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

บุญดิษฐ์ วรินทร์รักษ์. (2554). ผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ระหว่างปี พ.ศ.

-2550). แพร่: ศูนย์วิจัยข้าวแพร่.

มองเศรษฐกิจ 1991. (2550). “ข้าวอินทรีย์: ศักยภาพการตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง”. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 18 (พฤษภาคม 2550), 13(1991): 1-9.

สถาบันวิจัยข้าว. (2542). การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์. กทม.: กรมวิชาการเกษตร.

สโรชิน โคตรโสภา. (2557). แบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเอกชนในระบบประเภทอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการและพัฒนา คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552).วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.