เรื่องเล่าอัตชีวประวัติของความสำเร็จในการเป็นนวัตกรรมส่วนบุคคล

Main Article Content

ณัฐวุฒิ สมบูรณ์ทวี
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาความสำเร็จการเป็นนวัตกรรมส่วนบุคคลด้านนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นายนนทชัย อยู่ไทย ผู้ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง การแข่งขันนวัตกรรม โปรแกรมลงเวลาการทำงาน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิทยาการศึกษาประวัติชีวิตและเรื่องเล่า โดยการสัมภาษณ์แบบอัตชีวประวัติร่วมกับแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากการวิจัยนวัตกรรมส่วนบุคคล เริ่มจากการเรียนปริญญาตรี และความสนใจส่วนตัวด้านระบบฝังตัว

        ระบบฝังตัว หรือ สมองกลฝังตัว หลังจากที่เรียนจบได้เข้าทำงานที่บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ตำแหน่ง คือ วิศวกรระบบ มีหน้าที่ดูแลระบบที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 ภาคใต้ จังหวัดเพชรบุรี และในช่วงที่ทำงานเวลา 4 ปี มีการสอบไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำนวน 5 ครั้ง และการสอบในครั้งที่ 5 ทำให้สามารถสอบผ่านและได้รับบรรจุในแผนกแผนที่ระบบไฟฟ้า ซึ่งตำแหน่งคือ วิศวกรระดับ 4 แผนกแผนที่ระบบไฟฟ้า กองวิศวกรรมและวางแผน ฝ่ายวิศวกรรมและบริการ ได้มีโอกาสร่วมงานประชุมวิชาการที่ประเทศเวียดนาม หลังจากเดินทางกลับ ทำให้ได้ปรับมุมมองความคิดให้กว้างขึ้น จึงตัดสินใจสอบชิงทุนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ศึกษาต่อระดับปริญญาโท และเรียนในรายวิชา Machine Learning จึงนำความรู้จากการเรียนผสมกับจินตนาการที่มีตอนเรียนปริญญาตรี สร้างแนวคิดด้านนวัตกรรม หลังจากจบการศึกษาทำให้กล้าที่จะเปิดรับงานทุกอย่างแม้ว่างานนั้นจะยากหรือท้าทาย  ซึ่งหัวหน้าได้มอบหมายให้ ภายใน 1 ปี ให้สร้างเครื่องมือ หรือพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยให้งานดีขึ้น และได้ส่งผลงานด้านนวัตกรรมเข้าร่วมประกวดโครงการกิจกรรมคุณภาพ และประสบความสำเร็จได้รับรางวัล ประเภทหัวข้อร่วม เหรียญทอง ระดับประเทศ และหัวข้ออิสระ เหรียญเงิน ระดับประเทศ PEA Smart Tool : Smart Format transfer for GIS. และในปี พ.ศ. 2559 ยังได้รับรับรางวัล วิศวกรดาวรุ่ง ของชมรมวิศวกรเขตภาคใต้ นอกจากนี้ยังวางแผนส่งผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมประกวด โดยเป็นตัวแทนเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 ภาคใต้ จังหวัดเพชรบุรี โดยสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านระบบตรวจสอบสมรรถภาพ Link Fiber Optic อย่างต่อเนื่อง

 

           The objective of this research was to study the success of individual innovativeness and innovative inventions. The key informant was Mr.Nontachai Yuthai, who won the gold medal of Innovation Competition Program at work by using qualitative method with his history and life story. The information was collected by autobiographical interviews with semi-structured interviews. The result found that the individual innovativeness from the undergraduate study and personal interests of the embedded system. After that he joined ESRI THAILAND Limited Company, in System Engineer position which is responsible for the administration of PEA zone 1 southern province. During his four years working at PEA, he had examination for five times and he can pass the examination in the fifth round and get packed in Mapping System. This is the fourth class engineers Mapping System, Engineering and Planning Division Engineering Services. Then he had an opportunity to attend an academic conference in Vietnam. After returning, he has adapted himself to a wider perspective. Furthermore, he decided to win a scholarship of the PEA for master's degree in Machine Learning courses and classes to make their presence known by learning to mix several things from undergraduate knowledge. The innovative concept was created after his graduate. He braves to agree and accept everything, even if it is difficult or challenging tasks. At that time his supervisor offer a challenge task to him for developing the measurement tools that can make a better performance. Then he submit the innovation project to join the contest of quality project activities and his projects has been awarded with the gold medal country level and the topic of freedom and a silver medal at the national title, independent PEA Smart Tool: Smart Format transfer for GIS. In the year 2016, and he has also been awarded in young engineers star of Engineers Club in the Southern part of Thailand. He also plans to submit innovative contested and to be representative of PEA southern province in the innovation system performance monitoring Link Fiber Optic continues.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัฐวุฒิ สมบูรณ์ทวี

นักศึกษาปริญญาเอก สาขาจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชศิลปากร  

พิทักษ์ ศิริวงศ์

รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

References

คมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2557). การพัฒนาตนเอง. ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557

น้ำค้าง ไชยพุฒ. 2549. สารจาก Samuel J. Palmisano CEO ของ IBM. นิตยสารผู้จัดการ.23 (มิถุนายน):

-113.

สุคนธ์ทิพย์ มงคลเจริญ. (2555). อิทธิพลของรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และ

ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของพนักงานในงานธุรกิจสื่อไดเร็คทอรี่แห่งหนึ่ง. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ และ อาทิตยา อรุณศรีโสภณ.(2552). ชุมชนแห่งนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์.

วารสารนักบริหาร, 30(3), 25-30

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2548). การบริหารนวัตกรรมแนวใหม่. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Bittman, M. (2011).Digital natives New and old media and children’s outcomes. Australian

Journal of Education, 55(2), 161–175.

Buckingham, D. & Willett, R. (2006).Digital generations: Children, young people and new media.

Mahwah,NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Freeman, C. (1974), The Economics of Industrial Innovation, Harmondsworth: Penguin Books

George, J. M., & Zhou, J. (2001). When openness to experience and conscientiousness are related

to creative Behavior: An interactional approach. Journal of Applied Psychology, 86, 513-524

Kalyar, M. N. (2011). Creativity, self-leadership and individual innovation. The journal of

commerce, 3(3), 20.

Kanter, R.M. (1988). “Changes-Master Companies: Environments in which Innovations

Florish.” In R.L. Kuhn (Ed.), Handbook for Creative and Innovative Managers.

McGraw-Hill.

Rogers, E. M. (2003). Diffusion of innovations (5th ed.). NY: Free Press.

Tsai, W. (2001). Knowledge transfer in intra- organizational networks: Effects of network

position and absorptive capacity on business unit innovation and performance. Academy of Management Journal, 44(5), 996-1004.