การเปรียบเทียบระดับศักยภาพแรงงานภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์พลาสติกในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สุจิราภรณ์ ฟักจันทร์

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาระดับศักยภาพแรงงานภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกในจังหวัดปทุมธานี  และเพื่อเปรียบเทียบระดับศักยภาพแรงงานภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์  และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกในจังหวัดปทุมธานี  การวิจัยนี้เป็นเชิงปริมาณ  เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม  กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานระดับหัวหน้างานในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก  และชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดปทุมธานี  จำนวน 394  คน  จากประชากรทั้งสิ้น 22,065 คน สถิติที่ใช้ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t-test)  และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ระดับศักยภาพแรงงานภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์  และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกอยู่ในระดับสูงทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านการมุ่งผลสำเร็จในงาน  ความมุ่งมั่นในระเบียบและขั้นตอนการทำงาน  การปฏิบัติงานเชิงรุก  ความเชี่ยวชาญแบบมืออาชีพ  ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น  ความรอบรู้เรื่องเกี่ยวกับองค์การ  ความสามารถในการทำงานเป็นทีม  และด้านคุณธรรมและความซื่อสัตย์  ส่วนการเปรียบเทียบระดับศักยภาพแรงงานภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์  และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกในจังหวัดปทุมธานี   พบว่า  แรงงานการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์มีระดับศักยภาพไม่แตกต่างจากแรงงานการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก  ในด้านมุ่งผลสำเร็จในงาน  ความมุ่งมั่นในระเบียบและขั้นตอนการทำงาน  การปฏิบัติงานเชิงรุก  ความเชี่ยวชาญแบบมืออาชีพ  ความรอบรู้เกี่ยวกับองค์การ  และการทำงานเป็นทีม  แต่จะแตกต่างกันในด้านความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น  และด้านการมีคุณธรรมและความซื่อสัตย์

 

 

This research aimed to study the level of labor capacity in the electronic component and circuit manufacturing Industrial and the plastic manufacturing Industrial sector in Pathumthani Province, and to compare the level of labor capacity in the manufacturing Industrial sector in Pathumthani Province among different groups of industries. This research employed quantitative study. The data was collected through questionnaires and analyzed using frequency distribution, percentage calculation, mean, standard deviation, t-test, and Pearson correlation. The population consisted of 22,065 workers in the electronic component and circuit manufacturing industry and the plastic manufacturing industry. The data were collected from a sample of supervisor 394 workers.  The findings were the levels of labor capacity in the manufacturing Industrial sector were high in every aspect consist of achievement orientation, concern for order, proactivity, professional expertise, empathy, organization awareness, teamwork, virtue and integrity.  And to compare the level of labor capacity in the manufacturing Industrial sector in Pathumthani Province among different groups of industries were the level of labor capacity in the electronic component and circuit manufacturing Industrial was not differenced from the plastic manufacturing Industrial in achievement orientation, concern for order, proactivity, professional expertise, organization awareness, teamwork, but differed in empathy and virtue and integrity.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

สุจิราภรณ์ ฟักจันทร์

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ  มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

References

จงจิตต์ ฤทธิรงค์ และรีนา ต๊ะดี. (2558). ข้อท้าทายในการผลิตแรงงานฝีมือไทยเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 “ประชากรและสังคม 2558”. 1 กรกฎาคม 2558. ณ มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชัชวลิต สรวารี. (2552). 19 สมรรถนะเชิงพฤติกรรมเพื่อการจัดคนให้ตรงกับงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2553). หัวหน้างานกับการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ยูแอนไอ อินเตอร์ มีเดีย.

ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร. (2553). หัวหน้างานต้องเป็นอย่างไร, ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2559. จาก https://prakal.wordpress.com/2010/07/30.

พอใจ พุกกะคุปต์. (2558). ทักษะในการเข้าใจผู้อื่น: Empathy. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2559. จาก www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635627.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557. (2557, 26 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนที่ 87 ก. หน้า 1-22.

ยงวุฒิ เสาวพฤกษ์. (2559). การปรับตัวของภาคการศึกษาเพื่อรองรับ Industry 4.0. การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดการเรียนรู้ Education 4.0 : วไลยอลงกรณ์โมเดล, วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2559. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2558). หลักสูตรฝึกอบรม. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2558. จาก http://www2.ftpi.or.th/th/abus_ftpiac_irp.htm.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายไตรมาส ประจำไตรมาส1 ปี 2560 (มกราคม – มีนาคม 2560). กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). การสำรวจความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ พ.ศ. 2556. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2558. จาก https://www. m-society.go.th/article_attach/11930/16186.pdf.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี. (2560). รายงานการวิเคราะห์สภาวะอุตสาหกรรม รอบ 6 เดือน (กรกฎาคม – ธันวาคม 2559) จังหวัดปทุมธานี. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560. จาก www.industry.go.th/pathumthani/index.php/docman/-58/154--57-15/file.

___________. (2558). ทำเนียบโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2558. จาก www.industry.go.th/pathumthani.

Stephen Bach & Martin R. Edwards. (2005). Managing Human Resources. UK: Wiley.